ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เจดีย์ประธาน วัดเทพพลประดิษฐาราม
คำสำคัญ : เจดีย์ทรงปราสาท, พระธาตุ, เจดีย์, ศิลปะล้านช้าง, ศิลปะลาว, วัดเทพพลประดิษฐาราม, เจดีย์องค์ทิศใต้
ชื่อเรียกอื่น | เจดีย์องค์ทิศใต้, พระธาตุทิศใต้ |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดเทพพลประดิษฐาราม |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | เวียงคุก |
อำเภอ | เมือง |
จังหวัด | หนองคาย |
ภาค | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 14.79868 Long : 137.909375 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 Q Hemisphere : N E : 4977050.01 N : 2079706.12 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ด้านหลังพระอุโบสถในปัจจุบัน |
ประวัติการสร้าง | ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง แต่จากรูปแบบงานศิลปกรรมสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 22 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 23 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ก่ออิฐถือปูน |
ประวัติการอนุรักษ์ | ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 114 ตอนพิเศษ 81 ง วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2540 |
ขนาด | ความกว้างและความยาว 10.50 เมตร สูงประมาณ 20 – 21 เมตร |
ลักษณะทางศิลปกรรม | เจดีย์องค์เป็นเจดีย์ทรงปราสาทในผังเพิ่มมุม ฐานเขียงสี่เหลี่ยมด้านล่างรองรับฐานบัวเข่าพรหมในผังเพิ่มมุมต่อด้วยเรือนธาตุซ้อนกัน 2 ชั้น มีซุ้มที่ด้านทั้ง 4 โดยซุ้มที่เรือนธาตุชั้นแรกมีการประดิษฐานพระพุทธรูปแต่ซุ้มที่เรือนธาตุชั้น 2 ไม่สามารถประดิษฐานพระพุทธรูปได้ ส่วนยอดประกอบด้วยองค์ระฆัง บัลลังก์และปลียอด |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | เจดีย์ที่มีการผสมผสานหลากศิลปะเข้าด้วยกัน |
ข้อสังเกตอื่นๆ | เจดีย์องค์นี้แสดงลักษณะที่ผสมผสานกันของหลายศิลปะ ได้แก่ ศิลปะอยุธยา คือ การที่เจดีย์อยู่ในผังเพิ่มมุมรวมถึงองค์ระฆังในผังเพิ่มมุม ศิลปะล้านนา คือ การมีเรือนธาตุ 2 ชั้นและศิลปะล้านช้าง คือ การใช้ฐานบัวเข่าพรหมและยอดทรงบัวเหลี่ยม |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ล้านช้าง |
อายุ | ปลายพุทธศตวรรษที่ 22 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 23 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. เจดีย์วัดนาคใหญ่ นครเวียงจันทน์ ตัวอย่างเจดีย์ทรงปราสาทในศิลปะล้านช้างที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับเจดีย์ทิศใต้ วัดเทพพลประดิษฐารามอย่างมาก 2. เจดีย์องค์ทิศเหนือ วัดเทพพลประดิษฐาราม เจดีย์ทรงปราสาทในศิลปะล้านช้างที่อยู่ในวัดเดียวกันและมีรูปแบบที่ร่วมสมัยกัน |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-08-21 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | เกศินี ศรีวงค์ษา. “เจดีย์ทรงปราสาทยอดในศิลปะล้านช้างภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย : กรณีศึกษากลุ่มพระธาตุบังพวน” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. เจดีย์ พระพุทธรูป ฮูปแต้ม สิม ศิลปะลาวและอีสาน. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส, 2555. อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. โบราณคดีเมืองหนองคาย (ข้อมูลแหล่งโบราณคดี โบราณวัตถุสถาน และแหล่งศิลปกรรมจังหวัดหนองคาย). ขอนแก่น: อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น, 2544. สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545. |