ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วัดศรีสวาย
คำสำคัญ : วัดศรีสวาย, บายน, อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย, ศาลตาผาแดง
ชื่อหลัก | วัดศรีสวาย |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | เมืองเก่า |
อำเภอ | เมือง |
จังหวัด | สุโขทัย |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 17.013724 Long : 99.70246 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 Q Hemisphere : N E : 574748.74 N : 1881217.93 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ตั้งอยู่ทิศใต้ภายในกำพงเมืองเก่า อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และหันหน้าไปทางทิศใต้ |
ประวัติการสร้าง | ไม่ปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประวัติการสร้าง แต่จากการใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างเรือนธาตุ ซึ่งสามารถเทียบได้กับศาสนสถานของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงเชื่อว่าสร้างขึ้นในสมัยของพระองค์เช่นกัน ครั้นต่อมาในสมัยสุโขทัยได้มีการปฏิสังขรณ์ส่วนยอดด้วยอิฐ |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | อิฐและศิลาแลง |
ลักษณะทางศิลปกรรม | ตั้งหันหน้าไปทางทิศใต้ มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กึ่งกลางกำแพงด้านทิศใต้มีซุ้มประตูเข้าออก 1 แห่ง ถัดเข้าไปเป็นวิหารโถงชั้นนอกต่อเนื่องด้วยวิหารทึบชั้นในในแนนวเหนือใต้ ถัดจากนั้นเป็นปราสาท 3 หลังเรียงกันในแนวตะวันตก-ตะวันออก หลังกลางสูงกว่าหลังที่ขนาบทั้งสองข้าง สภาพปัจจุบันแสดงให้เห็นร่องรอยการก่อสร้างและดัดแปลงมาแล้วหลายครั้ง ส่วนฐานนั้นจมดินอยู่ ก่อด้วยศิลาแลงมาจนถึงเรือนธาตุ แต่ส่วนหลังคาที่ซ้อนเป็นชั้นก่อด้วยอิฐ ประดับกลีบขนุนรูปครุฑยุดนาค เทวดา อัปสร นาคโคนกรอบซุ้ม ซึ่งคลี่คลายจากศิลปะเขมรผสมผสากับศิลปะสุโขทัย นอกจากนี้ยังมีร่องรอยสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ได้แก่ แนวระเบียงล้อมรอบปราสาท ฐานอาคาร 3 หลังกระจายล้อมรอบปราสาทประธาน พื้นที่ระหว่างกำแพงวัดและกำแพงแก้วมีสระน้ำอยู่ด้านหลังปราสาท ซึ่งในอดีตน่าจะเป็นรูปตัว U คว่ำ ต่อมาได้มีการถมบริเวณทิศตะวันตกและปรากฏวิหารน้อยก่อด้วยศิลาแลง 1 หลัง ด้านหน้าวิหารน้อยปรากฏฐานเจดีย์ 1 องค์ ส่วนด้านหลังกำแพงวัดด้านทิศเหนือยังปรากฏฐานอาคารก่อด้วยศิลาแลง 1 หลัง โบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่ค้นพบได้ในวัด ได้แก่ ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ แผ่นหินสลักรูปพระนารายณ์ประทับยืน พระพุทธรูปสำริดทรงเครื่อง กำหนดอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 18 จึงสันนิษฐานว่าเมื่อแรกสร้างวัดศรีสวายนี้เพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์หรือพุทธมหายาน ต่อมาเมื่อสุโขทัยมีอำนาจเหนือขอมในพุทธศตวรรษที่ 19 จึงได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นศาสนสถานพุทธเถรวาท |
สกุลช่าง | บายน |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | เป็นหลักฐานศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมรที่เมืองสุโขทัย สะท้อนว่าพื้นที่นี้เคยอยู่ภายใต้กระแสธารของวัฒนธรรมเขมรสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มาก่อนที่จะกลายเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรสุโขทัย |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ลพบุรี, บายน |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 18 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ลัทธิ/นิกาย | มหายาน |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | ศาสนาพราหมณ์ หรือพุทธมหายาน |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-06-10 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์. การใช้พื้นที่แหล่งศาสนสถานแบบเขมรในเมืองเก่าสุโขทัยในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 24 จากการขุดค้นทางโบราณคดี. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556. |