ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

คำสำคัญ : ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร, โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี, ตึก

ชื่อหลักโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลท่างาม
อำเภอเมือง
จังหวัดปราจีนบุรี
ภาคภาคตะวันออก
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 14.054168
Long : 101.394827
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 758623.94
N : 1555034.64
ตำแหน่งงานศิลปะภายในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

ประวัติการสร้าง

ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นตัวอย่างของอาคารแบบตะวันตกที่สร้างขึ้นในจังหวัดปราจีนบุรีโดยเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) มีรูปแบบสถาปัตยกรรมใกล้เคียงกับศิลปะแบบ French Baroque ผสมผสานกับลวดลายปูนปั้นที่เลียนแบบศิลปะแบบ Rococo สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2452 โดยมีรูปแบบคล้ายคลึงกับตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรที่สร้างขึ้นก่อนในเมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา อาคารนี้เป็นที่ระลึกถึงความจงรักภักดีของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เจ้าเมืองพระตะบองในขณะนั้น ที่อพยพผู้คนจากเมืองพระตะบองเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารและตั้งถิ่นฐานในจังหวัดปราจีนบุรีในคราวที่สยามจำต้องสูญเสียดินแดนพระตะบองเพื่อแลกกับจันทบุรีและตราดภายหลังจากวิกฤตการณ์ ร.ศ.112

กระบวนการสร้าง/ผลิต

ก่ออิฐถือปูน

ประวัติการอนุรักษ์

พ.ศ. 2512 ได้ทำการบูรณะและเปิดใช้เฉพาะในโอกาสพิเศษต่อมาได้มีการบูรณะตึกครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2537 โดยงบประมาณของจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 2.5 ล้านบาท และคุณจรวยประสมสน ผู้บริจาคสมทบอีก 100,000 บาท เพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร

ลักษณะทางศิลปกรรม

เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบยุโรปความสูง 2 ชั้น ด้านหน้าของทั้ง 2 ชั้นมีโถงระเบียงซึ่งยื่นออกมารองรับหน้าบันที่ชั้นหลังคาโดยมีโดมเตี้ยๆอยู่เบื้องหลัง ส่วนของหน้าบันประดับลวดลายปูนปั้นรูปต้นไม้และใบไม้ ซุ้มประตูหน้าต่าง ขื่อ คาน เสา ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นเป็นลายใบไม้ม้วนช่อดอกไม้ม้วนลายขมวดก้นหอย ลายหน้าสิงห์ ลายรูปช้าง พื้นอาคารทุกห้องปูด้วยกระเบื้องโมเสคลวดลายต่าง ๆ ซึ่งเป็นลวดลายดั้งเดิมตั้งแต่สร้างตึกเสาบันไดทำเลียนแบบเสาโรมัน และระเบียงราวบันไดเป็นไม้แกะสลักลวดลาย เพดานห้องมีภาพเขียนสีแบบปูนเปียกหรือ frescoซึ่งแต่ละห้องจะมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกัน

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นตัวอย่างของอาคารแบบตะวันตกที่สร้างขึ้นในจังหวัดปราจีนบุรีโดยเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) มีรูปแบบสถาปัตยกรรมใกล้เคียงกับศิลปะแบบ French Baroque ผสมผสานกับลวดลายปูนปั้นที่เลียนแบบศิลปะแบบ Rococo สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2452 โดยมีรูปแบบคล้ายคลึงกับตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรที่สร้างขึ้นก่อนในเมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา อาคารนี้เป็นที่ระลึกถึงความจงรักภักดีของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เจ้าเมืองพระตะบองในขณะนั้น ที่อพยพผู้คนจากเมืองพระตะบองเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารและตั้งถิ่นฐานในจังหวัดปราจีนบุรีในคราวที่สยามจำต้องสูญเสียดินแดนพระตะบองเพื่อแลกกับจันทบุรีและตราดภายหลังจากวิกฤตการณ์ ร.ศ.112

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 25
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรที่พระตะบอง ประเทศกัมพูชา

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-05-30
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง. เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม) เจ้าเมืองพระตะบองคนสุดท้ายใต้ปกครองสยาม. กรุงเทพฯ: ยิปซี, 2557.