ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท

คำสำคัญ : พระปฐมเจดีย์, พระพุทธรูป, วัดพระเมรุ, พระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท

ชื่อเรียกอื่นหลวงพ่อศิลาขาว
ชื่อหลักพระปฐมเจดีย์
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลพระปฐมเจดีย์
อำเภอเมือง
จังหวัดนครปฐม
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.819103
Long : 100.060311
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 614588.44
N : 1527937.03
ตำแหน่งงานศิลปะลานประทักษิณทิศใต้ของพระปฐมเจดีย์

ประวัติการสร้าง

ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมเชื่อว่าสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี โดยประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม ร่วมกับพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทลอยตัวอีก 4 องค์

กระบวนการสร้าง/ผลิต

สลักหิน

ประวัติการอนุรักษ์

พบที่วัดพระเมรุ นครปฐม

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทองค์นี้ผ่านการบูรณะครั้งใหญ่มาแล้ว ครองจีวรห่มเฉียง บางแนบพระวรกาย ไม่มีริ้ว พระหัตถ์ขวาทำปางแสดงธรรม พระหัตถ์ซ้ายวางอยู่เหนือพรเพลา มีดอกบัวรองรับพระบาทไว้

พระพักตร์เหลี่ยม พระขนงนูนและต่อเป็นปีกกา พระเนตรเหลือบต่ำและโปน พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์ใหญ่ ขมวดพระเกศาเวียนเป็นวงก้นหอย พระอุษณีษะสูง และมีพระรัศมีรูปลูกแก้ว
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระพุทธรูปศิลาขาวแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างศิลปวัฒนธรรมทวารวดีกับอินเดียช่วงคุปตะและหลังคุปตะ นอกจากนี้ยังเป็นพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทลอยตัวเพียงไม่กี่องค์ที่มีสภาพสมบูรณ์

ข้อสังเกตอื่นๆ

ค้นพบที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม

พระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทลอยตัวจากวัดพระเมรุที่ประดิษฐานร่วมกันกับพระศิลาขาวองค์นี้มีอีก 3 องค์ ประดิษฐานยังที่ต่างๆ ดังนี้

1.พระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์

2.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

3.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

เดิมทีทั้ง 4 องค์นี้คงประดิษฐานร่วมกันที่แกนกลางสี่เหลี่ยมของอาคารด้านละ 1 องค์ ในลักษณะหันหลังชนกัน

สำหรับพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทภายในวิหารน้อยวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีประวัติว่าค้นพบที่วัดมหาธาตุ อยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 3 ต่อมาได้ค้นพบชิ้นส่วนของพนักบัลลังก์ของพระพุทธรูปองค์นี้ที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม (ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์) จึงเชื่อว่าเดิมทีพระองค์นี้ก็เคยอยู่ที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐมเช่นกัน

จากพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาททั้ง 5 องค์นี้ ทำให้ทวารวดีเป็นศิลปะที่มีพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทลอยตัวที่สร้างจากหินมากที่สุด

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะทวารวดี
อายุพุทธศตวรรษที่ 12-16
ศาสนาพุทธ
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนา
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

1. พระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทศิลปะอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ

2. พระพุทธรูปที่จันทิเมนดุต ศิลปะชวาภาคกลาง ประเทศอินโดนีเซีย

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-08-19
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ธนิต อยู่โพธิ์, พระพุทธรูปศิลาขาวสมัยทวารวดี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2510.

ผาสุข อินทราวุธ, ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : อักษรสมัย, 2542.

พิริยะ ไกรฤกษ์, ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทยฉบับคู่มือนักศึกษา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, 2528.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547.