ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ใบเสมา
คำสำคัญ :
ชื่อหลัก | พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | ในเมือง |
อำเภอ | เมือง |
จังหวัด | ขอนแก่น |
ภาค | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศารุ้งแวง | Lat : 16.446119 Long : 102.83852 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 48 Q Hemisphere : N E : 269213.66 N : 1819516.46 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ภายในอาคารจัดแสดง |
ประวัติการสร้าง | ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมเชื่อว่าสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | สลักหิน |
ลักษณะทางศิลปกรรม | ใบเสมาแผ่นแบนมียอดแหลม เบื้องล่างสลักรูปกลีบบัว ด้านหน้าสลักภาพพุทธประวัติตอนเสด็จโปรดพระนางพิมพา หรือนิยมเรียกกันว่า ตอนพิมพาพิลาป เพราะพระนางพิมพายินดีระคนเศร้าเสียใจจนกรรแสงเมื่อได้พบพระพุทธองค์ พระพุทธเจ้านั่งห้อยพระบาทอยู่ภายในอาคารซึ่งตามพุทธประวัติกล่าวว่าเป็นที่ประทับของพระนางพิมพา พระพุทธองค์ผินพระพักตร์ไปทางซ้าย เบื้องล่างทางด้านซ้ายของพระองค์ปรากฏภาพพระนางพิมพากำลังสยายผมเช็ดพระบาท เบื้องหลังพระนางเป็นพระราหุลแลผู้ติดตาม ปรากฏภาพฉัตรและแส้ใกล้ๆ พระราหุล เบื้องขวาของพระพุทธองค์มีบุรุษนั่งชันเข่าคงหมายถึงพระเจ้าสุทโธทนะ มีผู้ติดตามนั่งอยู่ด้านหลัง ใกล้กันนั้นมีภาพฉัตร แส้ 2 คัน และเครื่องสูงที่ลักษณะคล้ายบังสูรย์ เบื้องล่างเป็นแนวกำแพงเมืองหรือกำแพงวัง ซุ้มประตูซ้อนชั้น มีทหารยามรักษาการณ์ 4 คน |
สกุลช่าง | ภาคอีสาน |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ใบเสมาแผ่นนี้มีหลักฐานเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของชาวทวารวดีอีสานจำนวนมาก เช่น รูปแบบอาคารหลังคาคลุม ประตูเมืองหรือประตูวัง การใช้เครื่องสูง ประเพณีการสักการบูชาผู้สูงศักดิ์ด้วยการสยายผมชัดเท้า |
ข้อสังเกตอื่นๆ | ค้นพบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ รูปแบบของอาคารที่ประทับมีหลังคาทรงจั่ว ปลายกรอบหน้าจั่วตวัดโค้งคล้ายตัวเหงา ทำให้นึกถึงหลังคาทรงจั่วของบ้านเรือนไทย นอกจากนี้ซุ้มประตูทรงปราสาทซ้อนชั้นยังทำให้นึกถึงประตูทรงปราสาทที่มีอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ด้วย บางทีอาจมีความเกี่ยวข้องกันในแนวทางใดแนวทางหนึ่งก็ได้ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ทวารวดี |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 13-16 |
ศาสนา | พุทธ |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนา |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-08-19 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, ทวารวดีในอีสาน. กรุงเทพฯ : มติชน, 2558. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, “หลักหิน-ใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย” กรุงเทพฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547. วชิราภรณ์ ไชยชาติ, นำชมใบเสมาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น. กรุงเทพฯ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น, 2552. |