ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระพุทธบาท
คำสำคัญ : พระพุทธบาท, สระมรกต, โบราณสถานสระมรกต
ชื่อหลัก | โบราณสถานสระมรกต |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | โคกไทย |
อำเภอ | ศรีมโหสถ |
จังหวัด | ปราจีนบุรี |
ภาค | ภาคตะวันออก |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.863026 Long : 101.425002 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 762000.57 N : 1533971.95 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ภายในอาคารประดิษฐานพระพุทธบาท |
ประวัติการสร้าง | - |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | สลักลงบนพื้นหินศิลาแลง |
ขนาด | รอยพระพุทธบาทข้างซ้ายกว้าง 1.30 เมตร ยาว 3.50 เมตร รอยพระพุทธบาทข้างขวากว้าง 1.30 เมตร ยาว 3.30 เมตร |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระพุทธบาทคู่สลักลงบนพื้นศิลาแลงธรรมชาติ มีอาคารสร้างครอบทับไว้ พระพุทธบาทแต่ละข้างมีส่วนเว้าส่วนโค้งของเส้นรอบนอก นิ้วพระบาททั้งห้ายาวไม่เท่ากัน เหมือนรอยเท้าตามธรรมชาติ กึ่งกลางฝ่าพระบาทแต่ละข้างปรากฏลายรูปจักร อันเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความยิ่งใหญ่เหนือโลกและจักรวาลของพระพุทธองค์ ตรงกลางระหว่างฝ่าพระบาททั้ง 2 ข้าง มีร่องและหลุมลึก หลุมนั้นบางท่านเชื่อว่าเป็นหลุมสำหรับปักฉัตร ส่วนร่องคล้ายกากบาทนั้นยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นสัญลักษณ์ใดหรือทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด แต่มีบางท่านเสนอว่าเป็นร่องสำหรับเสียบเครื่องยึดฉัตรให้มั่นคง ทว่าบางท่านเห็นว่ารูปแบบคล้ายเครื่องหมายสวัสดิกะไขว้กัน หรือดูคล้ายธวัชหรือธงชัยที่มีปลายเป็น 2 แฉก |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | พระพุทธบาทองค์นี้มีอายุเก่าแก่ที่สุดในดินแดนไทย |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ทวารวดี |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 12-13 |
ศาสนา | พุทธ |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนา |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-08-19 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | นันทนา ชุติวงศ์, รอยพระพุทธบาทในศิลปะเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2533. บัณฑิต ลิ่วชัยชาญ และคณะ, การประดิษฐานพระพุทธศาสนาจากลังกาทวีปในดินแดนไทยสมัยวัฒนธรรมทวารวดี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2553. พีรพน พิสณุพงศ์, รอยพระพุทธบาทที่โบราณสถานสระมรกต (มปท. : หน่วยศิลปากรที่ 5 กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2529. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547. |