ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพิมพ์

คำสำคัญ : พระพิมพ์, ยมกปาฏิหาริย์, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง
จังหวัดขอนแก่น
ภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 16.446119
Long : 102.83852
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 48 Q
Hemisphere : N
E : 269213.66
N : 1819516.46
ตำแหน่งงานศิลปะภายในห้องจัดแสดง

ประวัติการสร้าง

ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากรูปแบบศิลปกรรมทำให้เชื่อว่าสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี

กระบวนการสร้าง/ผลิต

ประทับแม่พิมพ์ลงบนดินเหนียว จากนั้นนำไปเผาไฟ

ประวัติการอนุรักษ์

ค้นพบจากเมืองนครจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธเจ้านั่งทำปางสมาธิบนบัลลังก์ เบื้องขวาและเบื้องซ้ายมีภาพบุคคลด้านละ 1 คน โดยบุคคลทางขวาของพระพุทธองค์เป็นบุรุษในขณะที่ทางซ้ายน่าจะเป็นสตรี เบื้องบนเป็นพระพุทธนิรมิต 5 องค์ในอิริยาบถต่างๆ มีภาพบุคคลนั่งย่อเข่าและประนมมือไหว้พระพุทธนิรมิตองค์กลาง

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระพิมพ์เล่าเรื่องพุทธประวัติตอนแสดงยมกปาฏิหาริย์เพื่อปราบเดียรถีย์ชิ้นนี้ เป็นหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่าชาวทวารวดีส่วนหนึ่งหรือส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาท เพราะภาพนี้ทำพระพุทธเจ้าแสดงปาฏิหาริย์ที่ใต้ต้นมะม่วง อีกทั้งยังสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างสังคมพุทธศาสนาในภาคกลางกับภาคอีสานในสมัยนั้นด้วย

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะทวารวดี
อายุพุทธศตวรรษที่ 12-16
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

พระพิมพ์เล่าเรื่องพุทธประวัติตอนยมกปาฏิหาริย์ในศิลปะทวารวดีภาคกลาง โดยมีองค์ประกอบหลักทำนองเดียวกัน เชื่อว่าคงได้แรงบันดาลใจจากพระพิมพ์ภาคกลาง

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-08-19
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, ทวารวดีในอีสาน. กรุงเทพฯ : มติชน, 2558.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547.