ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระพุทธรูป
คำสำคัญ : พระพุทธรูป, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, พระพุทธรูปปางแสดงธรรม, ทวารวดี
ชื่อเรียกอื่น | พระพุทธรูปปางแสดงธรรม |
---|---|
ชื่อหลัก | พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร |
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | พระบรมมหาราชวัง |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.7576 Long : 100.492222 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 661329.97 N : 1521418.09 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ห้องเทวรูปรุ่นเก่า |
ประวัติการสร้าง | ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมทำให้กำหนดอายุได้ว่าสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | หล่อสำริด |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระพุทธรูปยืนทำปางแสดงธรรม แม้ว่าพระหัตถ์ซ้ายจะชำรุดแต่เชื่อได้ว่าทำปางแสดงธรรมเหมือนกันกับพระหัตถ์ขวา ครองจีวรห่มคลุม เรียบไม่มีริ้ว บางแนบพระวรกาย ชายจีวรเบื้องล่างด้านหน้าพาดผ่านพระชงฆ์เป็นรูปวงโค้ง ส่วนชายจีวรเบื้องล่างด้านข้างผายออกด้านนอก เป็นลักษณะที่พบได้ในพระพุทธรูปทวารวดีอีสาน พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม มีพระอุณาโลมกลางพระนลาฏ พระขนงนูนเป็นสันและต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรเหลือบต่ำและโปน พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์แบะและกว้าง พระอุษณีษะเป็นต่อมนูนสูง |
สกุลช่าง | ทวารวดีอีสาน |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | พระพุทธรูปองค์นี้ถือว่าเป็นประติมากรรมสำริดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งในสมัยทวารวดี สะท้อนถึงเทคโนโลยีการหล่อสำริดที่มีพัฒนาการระดับสูง นอกจากนี้การค้นพบร่วมกันกับพระโพธิสัตว์ในคติพุทธศาสนามหายานแบบเขมรก่อนเมืองพระนคร ยังสะท้อนถึงการผสมผสานกลมกลืนระหว่างศิลปวัฒนธรรมทวารวดีกับเขมรในพื้นที่อีสานใต้ได้เป็นอย่างดี |
ข้อสังเกตอื่นๆ | ค้นพบจากเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ (เดิมอยู่อำเภอลำปลายมาศ) จังหวัดบุรีรัมย์ ในการค้นพบครั้งนั้นพบร่วมกันกับพระโพธิสัตว์สำริดในคติพุทธศาสนามหายานอีก 2 องค์ ทว่าประติมากรรมทั้งหมดนี้อาจจะไม่ได้หล่อขึ้นพร้อมกันเพื่อเป็นประดิษฐานเป็นชุดเดียวกันก็ได้ เพราะขนาดแตกต่างกันมาก อย่างไรก็ตาม การค้นพบร่วมกันย่อมหมายความว่าครั้งใดครั้งหนึ่งในอดีตได้รับการเคลื่อนย้ายมาไว้รวมกัน โดยอาจเพื่อสักการบูชาก็เป็นได้ นอกจากนี้ พระโพธิสัตว์ที่ค้นพบร่วมกันนี้มีรูปแบบตามศิลปะเขมรก่อนเมืองพระนคร ย่อมแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างศิลปวัฒนธรรมทวารวดีและเขมรก่อนเมืองพระนครในพื้นที่นี้ โดยมีพุทธศาสนาเป็นแกนกลางความสัมพันธ์ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ทวารวดี |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 12-16 |
ศาสนา | พุทธ |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนา |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-08-19 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | กุลพันธาดา จันทร์โพธิ์ศรี. “ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของประติมากรรมสำริดจากบ้านฝ้าย ตำบลไทยสามัคคี อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์” ศิลปากร ปีที่ 36, ฉบับที่ 4 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2536), หน้า 53-62. ผาสุข อินทราวุธ, ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : อักษรสมัย, 2542. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, ทวารวดีในอีสาน. กรุงเทพฯ : มติชน, 2558. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547. อุไรศรี วรศะริน, ประติมากรรมสำริดชิ้นเอกพบใหม่จากจังหวัดบุรีรัมย์. พระนคร : กรมศิลปากร, 2516. |