ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธรูป

คำสำคัญ : พระพุทธรูป, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย, ทวารวดี

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลในเมือง
อำเภอพิมาย
จังหวัดนครราชสีมา
ภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 15.224812
Long : 102.494452
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 230843.9
N : 1684737.63
ตำแหน่งงานศิลปะภายในห้องจัดแสดง

ประวัติการสร้าง

จารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ที่อยู่บริเวณฐานบัว ทำให้ทราบว่าชิ้นส่วนนี้เป็นพระพุทธรูป แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “พระเทวี (มเหสี) ของเจ้าแห่งทวารวดี ทรงบัญชาให้พระธิดาสร้างพระรูปของพระตถาคตนี้ไว้” กำหนดอายุจากรูปอักษรได้ราวพุทธศตวรรษที่ 12

กระบวนการสร้าง/ผลิต

สลักหินทราย

ลักษณะทางศิลปกรรม

ชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายนี้เหลือเพียงพระบาทและฐานบัวเท่านั้น หินทรายส่วนพระบาทเป็นผังสี่เหลี่ยม สลักเชื่อมติดกับฐานหน้ากระดานและมีเดือยยาว ส่วนหินทรายส่วนฐานบัวเป็นผังกลม มีจารึกอยู่ที่ขอบล่าง กึ่งกลางฐานบัวสลักเป็นช่องสี่เหลี่ยมเพื่อรับพระบาท

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ชิ้นส่วนพระพุทธรูปนี้สะท้อนถึงความเกี่ยวข้องระหว่างอาณาจักรทวารวดีภาคกลางกับส่วนหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือชัดเจน เพราะมีจารึกที่ฐานบัวระบุข้อความที่แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า พระเทวีของเจ้าแห่งทวารวดีได้บัญชาให้พระธิดาสร้างพระพุทธรูปนี้ไว้

ข้อสังเกตอื่นๆ

การทำฐานหน้ากระดานในผังสี่เหลี่ยมเชื่อมต่อเป็นชิ้นเดียวกันกับพระบาทอาจจะสัมพันธ์กับประติมากรรมในศิลปะเขมรก็เป็นได้ เพราะตามปกติพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดีจะทำฐานบัวในผังกลมเชื่อมต่อเป็นชิ้นเดียวกันกับพระบาท หากเป็นจริงตามข้อสังเกตนี้ย่อมหมายความว่าพระพุทธรูปนี้สร้างขึ้นโดยผสมผสานความเป็นทวารวดีและเขมรเข้าไว้ด้วยกัน อันเป็นลักษณะหนึ่งที่พบได้ในศิลปะทวารวดีในภาคอีสาน

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะทวารวดี
อายุพุทธศตวรรษที่ 12
ศาสนาพุทธ
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนา

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-08-19
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

กรรณิการ์ วิมลเกษม และจิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา. “ชื่อทวารวตีในจารึกวัดจันทึก” ใน สังคมและวัฒนธรรมในประเทศไทย, หน้า 388-392. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2542.

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, “พระพุทธรูปที่มีจารึก “ทวารวดี” จากนครราชสีมา: การกลมกลืนกับวัฒนธรรมเขมรและสกุลช่างพื้นเมือง” เมืองโบราณ ปีที่ 36, ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2553), หน้า 92-99.