ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

สังคโลก

คำสำคัญ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง, สังคโลก

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลเมืองเก่า
อำเภอเมือง
จังหวัดสุโขทัย
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 17.018304
Long : 99.707273
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 Q
Hemisphere : N
E : 575278.74
N : 1881715.86
ตำแหน่งงานศิลปะจัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง

ประวัติการสร้าง

การผลิตสังคโลกพบมากที่เมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย มีการสร้างต่อเนื่องยาวนานนับร้อยปีตลอดยุคสุโขทัยจนแม้กระทั่งช่วงที่อยุธยาได้เข้ามาครอบครองสุโขทัยแล้ว สันนิษฐานว่าการผลิตสังคโลกสิ้นสุดลงราวรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สำหรับสังคโลกที่เป็นเครื่องประกอบสถาปัตยกรรมนั้น มีรูปแบบที่เทียบได้กับงานศิลปกรรมที่สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 จึงเชื่อว่าควรกำหนดอายุการสร้างไว้ราวช่วงเวลาเดียวกันนี้
กระบวนการสร้าง/ผลิต

ดินเผา

ลักษณะทางศิลปกรรม

เครื่องประดับสถาปัตยกรรมมีหลายส่วน ที่สำคัญได้แก่ มกร ใช้ประดับปลายหน้าจั่ว จะพัฒนาเป็นหางหงส์ ครอบอกไก่ซึ่งจะพัฒนาเป็นช่อฟ้า บราลี ใช้ประดับสันหลังคา ครอบแปร ลูกกรง และกระเบื้องพื้น

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

สังคโลกเป็นเครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่งของสุโขทัย นอกจากใช้ทำภาชนะแล้วยังนำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับสถาปัตยกรรมด้วย ทำให้ทราบได้ว่าอาคารหลังคาลุม เช่น วิหาร อุโบสถ ที่ปัจจุบันเหลือเพียงซากปรักหักพัง เดิมทีเคยมีองค์ประกอบใดบ้าง

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะสุโขทัย
อายุพุทธศตวรรษที่ 20-21
ศาสนาพุทธ
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนา

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-09-30
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

กฤษฎา พิณศรี และคณะ. เครื่องถ้วยสุโขทัย: พัฒนาการของเครื่องถ้วยไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง กร๊ฟ, 2535.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บรรณาธิการ). สังคโลก-สุโขทัย-อยุธยากับเอเชีย. เอกสารสรุปการสัมมนาวิชาการนานาชาติทางประวัติศาสตร์. สมุทรปราการ : มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, 2545.

สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2555.