ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธรูปปางมารวิชัย

คำสำคัญ : พระพุทธรูปปางมารวิชัย, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลเมืองเก่า
อำเภอเมือง
จังหวัดสุโขทัย
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 17.018304
Long : 99.707273
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 Q
Hemisphere : N
E : 575278.74
N : 1881715.86
ตำแหน่งงานศิลปะจัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง

ประวัติการสร้าง

ไม่พบประวัติการสร้างที่เป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษร แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมที่เป็นส่วนผสมระหว่างพระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่และพระพุทธรูปล้านนาแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ทำให้กำหนดอายุไว้ราวพุทธศตวรรษที่ 20ไม่พบประวัติการสร้างที่เป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษร แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมที่เป็นส่วนผสมระหว่างพระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่และพระพุทธรูปล้านนาแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ทำให้กำหนดอายุไว้ราวพุทธศตวรรษที่ 20

กระบวนการสร้าง/ผลิต

หล่อสำริด

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิราบบนฐานหน้ากระดาน พระหัตถ์ทำปางมารวิชัย จุดสังเกตหลักที่แสดงความเกี่ยวข้องกับพระพุทธรูปล้านนาแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง อันเป็นเหตุผลให้กำหนดเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่าหมวดวัดตะกวน ได้แก่ พระพักตร์กลมและคางนูนเป็นปม

สำหรับส่วนอื่นๆ ที่แสดงความเกี่ยวข้องกับพระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่ทั่วไป ได้แก่ พระรัศมีเปลวไฟ ทั้งนี้แลดูแข็งกระด้างกว่าพระรัศมีในศิลปะสุโขทัย ครองจีวรห่มเฉียง เรียบไม่มีริ้ว ชายจีวรหรือชายสังฆาฏิพาดผ่านพระอังสาซ้ายยาวจรดพระนาภี ปลายเป็นริ้วซึ่งนิยมเรียกว่าเขี้ยวตะขาบ ขัดสมาธิราบ นั่งบนฐานหน้ากระดาน
สกุลช่างหมวดวัดตะกวน
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระพุทธรูปองค์นี้จัดได้ว่าเป็นพระพุทธรูปสุโขทัยหมวดวัดตะกวน (ค้นพบมากที่วัดตะกวน แต่ที่อื่นก็พบเช่นกัน) เป็นกลุ่มพระพุทธรูปที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างสุโขทัยกับล้านนาได้ชัดเจน เพราะมีรูปแบบหลายอย่างที่เชื่อว่าได้แรงบันดาลใจจากพระพุทธรูปล้านนาหรือเชียงแสนสิงห์หนึ่ง

ยุคประวัติศาสตร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 20
ศาสนาพุทธ
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนา

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-09-30
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.

สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2555.