ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตำหนักจิตรลดา
คำสำคัญ : พระราชวังดุสิต, ตำหนักจิตรลดา
ชื่อหลัก | พระราชวังดุสิต |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | ดุสิต |
อำเภอ | เขตดุสิต |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.768004 Long : 100.510695 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 663319.54 N : 1522582.29 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | พระราชวังดุสิต |
ผู้สร้าง | - |
---|---|
ประวัติการสร้าง | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร โดยมีสถาปนิกผู้ออกแบบคือ นาย มาริโอ ตมานโย สถาปนิกชาวอิตาลีแห่งกรมโยธาธิการ ออกแบบระหว่าง พ.ศ.2446-2448 ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2449 |
ลักษณะทางศิลปกรรม | ตำหนักจิตรลดาเป็นอาคารแบบอิตาเลียนวิลล่า แผนผังเป็นรูปตัว U อย่างไม่สมมาตร มีระเบียงทางด้านหน้าและหลัง และมีโถงกลางอาคารเพื่อระบายอากาศ หลังคาทรงปั้นหยา ชายคายื่นพอประมาณ ป ระตูหน้าต่างประดับลวดลายปูนปั้นพรรณพฤกษาแบบเรขาคณิต ช่องประตูหน้าต่างเป็นสี่เหลี่ยมที่ประดับด้านบนด้วยแนววงโค้ง ภายในแบ่งเป็นห้องชุดได้แก่ ห้องพระบรรทม ห้องทรงงาน การตกแต่งภายในเป็นศิลปกรรมแบบบาร็อค เน้นความหรูหรา ส่วนห้องที่ไม่ใช้งานสำคัญตกแต่งอย่างเรียบง่าย รูปแบบศิลปะคล้ายกับการตกแต่งพระที่นั่งอัมพรสถานเนื่องจากเป็นงานออกแบบของสถาปนิกคนเดียวกันและอยู่ภายในพระราชวังดุสิตเช่นกัน |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักจิตรลดาในพระราชวังดุสิตด้านทิศใต้ เพื่อให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นตัวอย่างอาคารที่ประทับที่สร้างขึ้นนอกพระบรมมหาราชวัง ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก โดยการออกแบบของสถาปนิกชาวตะวันตกที่เริ่มเข้ามารับงานออกแบบสถาปัตยกรรมในราชสำนักสมัยนั้น รูปแบบภายนอกอาคารเป็นแบบอิตาเลียนวิลล่า ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นที่กรอบประตูหน้าต่าง มีลวดลายอย่างตะวันตกที่แสดงถึงตำแหน่งอันสูงส่งแห่งสยามมกุฎราชกุมาร คือรูปมงกุฎล้อมด้วยลายพรรณพฤกษา การออกแบบพื้นที่ภายในเน้นประโยชน์การใช้สอยเพื่อเป็นที่ประทับและทรงงาน แม้รูปแบบอาคารจะได้รับการออกแบบอย่างศิลปะตะวันตก แต่น่าสังเกตว่าการตั้งชื่อว่า จิตรลดา ยังแสดงถึงแนวคิดเชิงอุดมคติที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องจากคำนี้เป็นชื่อของสวนจิตรลดาวันซึ่งเป็นหนึ่งในสวนสวรรค์ของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 25 |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | ศิลปะในราชสำนัก |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-09-15 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | สมชาติ จึงสิริอารักษ์.สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยามสมัยรัชกาลที่ 4 - พ.ศ.2480. กรุงเทพฯ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553. |