ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร

คำสำคัญ : วัดอรุณราชวราราม , วัดอรุณ, วัดแจ้ง, พระพุทธรูปประธานวิหารวัดอรุณ

ชื่อเรียกอื่นพระพุทธรูปประธานวิหารวัดอรุณ
ชื่อหลักวัดอรุณราชวราราม
ชื่ออื่นวัดอรุณ, วัดแจ้ง
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลวัดอรุณ
อำเภอเขตบางกอกใหญ่
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 660912.36
Long : 1519891.46
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 660912.36
N : 1519891.46
ตำแหน่งงานศิลปะภายในพระวิหาร

ประวัติการสร้าง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นใน พ.ศ.2375

ขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก
ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตรมีรูปแบบเฉพาะอย่างพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 กล่าวคือ พระวรกายค่อนข้างเพรียว พระพักตร์ค่อนข้างกลมกึ่งรูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง เส้นขอบเปลือกพระเนตรและพระขนงป้ายเป็นแผ่นเช่นเดียวกับพระพุทธรูปอยุธยาตอนปลาย พระเนตรเปิดและมองตรง พระนาสิกค่อนข้างเล็กและโด่ง พระโอษฐ์เล็ก เส้นพระโอษฐ์อ่อนโค้งเล็กน้อยเกือบเป็นเส้นตรง คล้ายเรือประทุน พระพักตร์อย่างหุ่น ประทับนั่งแสดงปางมารวิชัย นิ้วพระหัตถ์เรียวยาวเสมอกัน สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่พาดอยู่กึ่งกลางพระวรกาย

สกุลช่างช่างหลวงในรัชกาลที่ 3
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตรเป็นพระพุทธรูปประธานในพระวิหารวัดอรุณราชวราราม สร้างขึ้นตามพุทธศิลป์ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยโปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นในคราวเดียวกับพระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระประธานในพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถและพระวิหารในสมัยรัชกาลที่ 3 คือการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ หล่อด้วยโลหะมีค่า ได้แก่ ทองสำริด ทองแดง และประดิษฐานบนฐานชุกชีขนาดใหญ่ พระพุทธรูปส่วนใหญ่มีรูปแบบเดียวกันเนื่องจากกรมช่างหล่อเป็นผู้สร้างตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งแสดงถึงพระราชศรัทธาในการพระพุทธศาสนา จนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปในรัชสมัยนี้ แตกต่างจากในรัชกาลต่อมาที่พระพุทธรูปประธานมักมีขนาดเล็กลง

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 24
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-09-15
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์.พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.