ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย
คำสำคัญ : ที่ประทับ, พระที่นั่ง, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, วังหน้า, พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย
ชื่อหลัก | พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร |
---|---|
ชื่ออื่น | วังหน้า |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | พระบรมมหาราชวัง |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.758078 Long : 100.491668 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 661268.08 N : 1521471.53 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร |
ประวัติการสร้าง | สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ พระมหาอุปราชในรัชกาลที่ 3 โปรดให้สร้างพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยขึ้นที่หน้าหมู่พระวิมานด้านทิศตะวันออก ซึ่งแต่เดิมเป็นมุขเด็จพระวิมานสำหรับเสด็จออกรับแขกเมืองมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้ ปิดทองประดับกระจก |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยเป็นอาคารโรง ก่ออิฐถือปูน ชั้นเดียว ขนาด 10 ห้อง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ฝากั้นทึบทั้ง 4 ด้าน ด้านหน้ามีระเบียง เสาระเบียงและเสาในอาคารเป็นเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่แบบที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ภายในประดิษฐานพระที่นั่งบุษบกมาลา หลังคาพระที่นั่งประดับด้วยเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบสี ประดับกรอบหน้าบันด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันประดับรูปเทพนมประทับบนฐานบัวแกมช่อกระหนกเปลว ปิดทองประดับกระจก |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยเป็นท้องพระโรงในพระราชมณเฑียรสถานภายในพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า เป็นสถานที่สำหรับสมเด็จพระมหาอุปราชเสด็จออกว่าราชการ หรือเสด็จออกในพระราชพิธีและการบำเพ็ญพระราชกุศล เช่น พระราชพิธีบวรราชาภิเษก พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยจึงมีหน้าที่และรูปแบบที่คล้ายกับพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมานในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง นอกจากนี้ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยยังเป็นที่ประดิษฐานพระศพสมเด็จพระบวรราชเจ้า และพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีหน้าที่การใช้งานคล้ายกับพระมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวังด้วย แต่อย่างไรก็ตามจะพบว่าฐานานุศักดิ์ทางสถาปัตยกรรมมีความแตกต่างจากสถาปัตยกรรมในพระบรมมหาราชวัง เช่น การประดับหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบสี การประดับกรอบหน้าบันที่ไม่มีนาคสะดุ้ง เป็นต้น |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 24 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-09-15 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | กรมศิลปากร . พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า). กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2558. สุนิสา มั่นคง.พระราชวังบวรสถานมงคล. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2556. |