ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระโกศทองใหญ่
คำสำคัญ : พระบรมมหาราชวัง, วังหลวง, พระโกศทองใหญ่, พระลองทองใหญ่
ชื่อเรียกอื่น | พระลองทองใหญ่ |
---|---|
ชื่อหลัก | พระบรมมหาราชวัง |
ชื่ออื่น | วังหลวง |
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | พระบรมมหาราชวัง |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.751028 Long : 100.490142 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 661109.52 N : 1520691.16 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน |
ประวัติการสร้าง | พระโกศทองใหญ่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นไว้สำหรับพระบรมศพของพระองค์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ รองเสนาบดีกระทรวงวังและผู้บัญชาการกรมช่างสิบหมู่สร้างขึ้น เรียกว่า พระโกศทองใหญ่ รัชกาลที่ 5 หรือพระลองทองใหญ่ รัชกาลที่ 5 และในรัชกาลที่ 9 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระโกศทองใหญ่ขึ้นเป็นองค์ที่ 3 โดยได้ประดิษฐานพระศพสมเด็จพระจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เป็นพระองค์แรก |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ไม้แกะสลัก ปิดทอง ประดับเพชร |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระโกศทองใหญ่มีลักษณะคล้ายภาชนะ ส่วนฐานทรงแปดเหลี่ยมรองรับส่วนกลางทรงแปดเหลี่ยมที่มีเอวคอด ปากผาย ประดับดอกไม้เอวที่ขอบล่าง และประดับเฟื่องกับพู่เงินที่ขอบบน ภายนอกสลักลวดลายกลีบบัว ส่วนบนหรือฝาพระโกศซ้อนชั้นลดหลั่นประดับดอกไม้ไหว ส่วนปลายเรียวแหลมประดับดอกไม้เพชรพุ่มข้าวบิณฑ์ที่ยอดบนสุด |
สกุลช่าง | ช่างหลวง |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | พระโกศทองใหญ่ใช้สำหรับทรงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระอัครมเหสี หรือสมเด็จเจ้าฟ้าในสมัยรัตนโกสินทร์ได้สร้างขึ้นทั้งหมด 3 องค์ ได้แก่ พระโกศทองใหญ่ที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 9 พระโกศทองใหญ่ในรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้รื้อทองที่หุ้มกระโกศกุดั่นมาทำพระโกศทองใหญ่ขึ้นไว้ สำหรับพระบรมศพของพระองค์ แต่ในปีเดียวกันนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระอาลัยมาก จึงโปรดเกล้าฯให้เชิญพระโกศทองใหญ่ไปประกอบพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพเป็นครั้งแรก ด้วยเหตุนี้จึงเป็นราชประเพณีในรัชกาลต่อ ๆ มาที่จะพระราชทานพระโกศทองใหญ่สำหรับทรงพระศพอื่นได้นอกเหนือจากพระบรมศพ การประดับเครื่องประกอบพระโกศทองใหญ่จะลดหลั่นไปตามพระอิสริยยศ โดยหากพระโกศทองใหญ่ประดิษฐานพระบรมศพจะประดับด้วยดอกไม้เพชรพุ่มข้าวบิณฑ์ ดอกไม้ไหว เฟื่อง พู่เงินและดอกไม้เอวอันเป็นเครื่องประดับพระโกศทองใหญ่อย่างสูงสุด |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 24 |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | ประเพณีในราชสำนัก |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-09-15 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | กรมพระสมมตอมรพันธ์, กรมพระยาดำรงราชานุภาพและสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ช่วยกันทรงเรียบเรียง. ตำนานพระโกศและหีบศพบรรดาศักดิ์. กรุงเทพฯ : สำนักพระราชวัง, 2539. การประดิษฐานพระโกศ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท.กรุงเทพฯ : สำนักราชเลขาธิการ, 2551. |