ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

โพธิฆระ

คำสำคัญ : วัดสระปทุม, วัดปทุมวนาราม, โพธิฆระ

ชื่อหลักวัดปทุมวนาราม
ชื่ออื่นวัดสระปทุม
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลปทุมวัน
อำเภอเขตปทุมวัน
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.745956
Long : 100.536366
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 666112.03
N : 1520159.04
ตำแหน่งงานศิลปะเขตพุทธาวาส

ประวัติการสร้าง

สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลักษณะทางศิลปกรรม

รูปแบบของบริเวณที่ประดิษฐานต้นโพธิ์บางแห่งพบว่ามีการทำฐานโพธิ์ล้อมรอบโคนต้น มีลักษณะเป็นฐานสิงห์ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีพนักกำแพงโดยรอบทำด้วยกระเบื้องปรุแบบจีน และมีบันไดทางขึ้นโดยอาจมีเพียงด้านเดียวหรือทั้ง 4 ด้าน มีบางแห่งที่มีอาคารล้อมรอบต้นโพธิ์ที่เรียกว่าโพธิฆระ เช่นที่วัดปทุมวนาราม และวัดบวรนิเวศวิหาร โพธิฆระมีแผนผังเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีหลังคาคลุมและมีพนักกำแพงบนสันหลังคาโดยเว้นพื้นที่ตรงกลางเพื่อให้ต้นโพธิ์ได้เจริญเติบโต

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ในเขตพุทธาวาสของวัดสำคัญบางแห่งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง ได้ปลูกต้นโพธิ์ไว้ในบริเวณที่เป็นแนวแกนหลักของแผนผัง นับเป็นองค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งไม่เป็นที่นิยมมาก่อนในสมัยรัตนโกสินทร์ วัดที่พบว่ามีต้นโพธิ์เป็นจุดสำคัญของแผนผังในเขตพุทธาวาสได้แก่ วัดปทุมวนาราม วัดพระสมุทรเจดีย์ เป็นต้น ต้นโพธิ์เหล่านี้มักมีอาคารล้อมรอบที่เรียกกันว่า โพธิฆระ ซึ่งน่าจะได้รับแนวคิดดังกล่าวมาจากลังกา

การให้ความสำคัญกับต้นโพธิ์เป็นอย่างมากในรัชกาลที่ 4 คงสืบเนื่องมาจากต้นโพธิ์เป็นต้นไม้สำคัญตามพุทธประวัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือตอนตรัสรู้ และมูลเหตุสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การได้รับต้นโพธิ์จากลังกาเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 2 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อมีการส่งสมณฑูตไปลังกาก็มีการนำต้นโพธิ์จากลังกามาปลูกด้วย กระทั่งในปลายรัชกาลจึงได้พันธุ์พระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยาที่นำเข้ามาโดยชาวอังกฤษ จึงได้เพาะพันธุ์และพระราชทานไปปลูกยังพระอารามสำคัญอีกหลายแห่งเช่น วัดบวรนิเวศวิหาร พระปฐมเจดีย์ เป็นต้น

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 24-25
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-09-15
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์. “ศิลปกรรมในพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558.