ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระที่นั่งพิมานจักรี
คำสำคัญ : ที่ประทับ, พระที่นั่ง, พระที่นั่งพิมานจักรี, พระราชวังพญาไท
ชื่อหลัก | พระราชวังพญาไท |
---|---|
ชื่ออื่น | วังพญาไท |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | ทุ่งพญาไท |
อำเภอ | เขตราชเทวี |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.7686632 Long : 100.53298 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 665729.63 N : 1522669.62 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ภายในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า |
ประวัติการสร้าง | เริ่มการก่อสร้างในเดือนมีนาคม พ.ศ.2462 นายยี. คลูเซอร์ เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ใช้เวลาในการก่อสร้าง 17 เดือน |
---|---|
ประวัติการอนุรักษ์ | ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 96 ตอนที่ 15 วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2422 พระที่นั่งพิมานจักรีได้รับการดัดแปลงเพิ่มเติม 2 ครั้ง ครั้งแรกในพ.ศ.2465 เป็นการต่อเติมห้องพระบรรทมในด้านตะวันออก ครั้งที่ 2 ในพ.ศ.2467 มีการสร้างท้องพระโรงหน้าของพระที่นั่งพิมานจักรีเป็นอาคารชั้นเดียว มีห้องรอเฝ้าและห้องบิลเลียด ชั้นบนเป็นลานดาดฟ้าเชื่อมต่อกับห้องพระบรรทมในชั้น 2 |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระที่นั่งพิมานจักรีเป็นอาคาร 2 ชั้น ก่ออิฐฉาบปูน มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบยุโรปแบบโกธิค-โรมาเนสก์ จุดเด่นของพระที่นั่งอยู่ที่ยอดโดมสีแดงซึ่งจะมีการเชิญธรงมหาราชขึ้นสูงยอดเสาเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับ บริเวณฝาผนังและเพดานของพระที่นั่งมีภาพเขียนลายดอกไม้แบบปูนเปียก บานประตูเป็นไม้จำหลักปิดทอง มีจารึกพระปรมาภิไธยย่อเหนือบานประตูว่า "ร.ร.๖" หมายถึง สมเด็จพระรามราชาธิบดี รัชกาลที่ 6 ภายในชั้น1ของพระที่นั่งพิมานจักรีประกอบด้วย ห้องเสวย ห้องธารกำนัล ห้องพระโอสถมวน ห้องนอนซึ่งเป็นห้องสำหรับให้ข้าราชบริพารเข้าเฝ้า ต่อมาเมื่อเปลี่ยนเป็นโฮเต็ลวังพญาไทห้องนี้จึงกลายเป็นห้องอาหาร ชั้นที่ 2 ประกอบด้วยห้องพิพิธภัณฑ์ ห้องบรรณาคม ห้องพระบรรทม ห้องทรงพระอักษร ภายในตกแต่งแบบยุโรปภายในมีเตาผิงซึ่งด้านบนประดิษฐานพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวภายใต้พระมหามงกุฏซึ่งล้อมรอบด้วยรัศมี นอกจากนี้ยังมีภาพพญามังกรหมายถึงสัญลักษณ์แห่งความเป็นพระราชาและปีพระราชสมภพ |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | พระที่นั่งพิมานจักรีเป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นใหม่องค์แรกและเป็นอาคารประธานของในพระราชวังพญาไท ที่ประกอบด้วยพระที่นั่งต่างๆหลายองค์ ได้แก่ พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน พระที่นั่งพิมานจักรี พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ พระที่นั่งพิมานจักรีเป็นที่ประทับและทรงงานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระบรมราชินี เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีที่สำคัญ เช่น พระราชพิธีเฉลิมพระที่นั่ง ณ พระราชวังพญาไท ในภายหลังพระราชวังพญาไทได้ปรับเปลี่ยนหน้าที่การใช้งานไปเป็นโรงแรมที่มีชื่อว่า โฮเต็ลวังพญาไท ปัจจุบันเป็นอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 25 |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | ประเพณีในราชสำนัก |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-06-17 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | ศิลปากร, กรม. ทะเบียนโบราณสถาน. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2532. แพทย์หญิง กรรณิการ์ ตันประเสริฐ. พระราชวังพญาไทในวันวารห้าแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553. |