ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ประตูเสี้ยวกาง

คำสำคัญ : วัดบวรฯ บางลำพู, วัดบวรนิเวศวิหาร, วัดบวร, ประตูเสี้ยวกาง, เซี่ยวกาง, ทวารบาล

ชื่อเรียกอื่นเซี่ยวกาง, ทวารบาล
ชื่อหลักวัดบวรนิเวศวิหาร
ชื่ออื่นวัดบวรฯ
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลบวรนิเวศ
อำเภอเขตพระนคร
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศารุ้งแวง
Lat : 13.760815
Long : 100.50018
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 662188.33
N : 1521778.65
ตำแหน่งงานศิลปะประตูด้านหน้าวัด

ประวัติการสร้าง

สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3

กระบวนการสร้าง/ผลิต

ไม้แกะสลักปิดทอง

ลักษณะทางศิลปกรรม

ซุ้มประตูประกอบด้วยบานประตู 2 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วยบานประตูสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 บาน พื้นสีแดง แต่ละบานสลักเป็นรูปทวารบาลอย่างจีนปิดทอง แต่งกายยืนเครื่องคล้ายทวารบาลแบบไทย ยืนเงื้อง่าถืออาวุธ ได้แก่ ง้าว ดาบ กริช โล่ อยู่บนหลังสัตว์ผสมต่างๆอย่างจีน รวมทั้งสิ้น 4 องค์ ที่ปากของทวารบาลแต่ละองค์แต่เดิมมีคราบยาฝิ่นสีดำติดอยู่เนื่องจากประชาชนทำมาป้ายถวายทวารบาล ในภายหลังได้มีการล้างทำความสะอาดคราบนั้นออก แต่ได้ทาสีดำไว้เพื่อแสดงถึงที่มาตามประวัติศาสตร์ ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นเอกลักษณ์ของทวารบาลหรือเสี้ยวกางที่วัดบวรนิเวศวิหาร

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

บานประตูหน้าต่างของพระอารามหลายแห่งในสมัยรัตนโกสินทร์นิยมทำเป็นรูปเทวดา ที่เรียกว่าทวารบาล ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองรักษาพระอาราม ไม่ให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาทำอันตรายได้ รูปแบบของทวารบาลโดยส่วนใหญ่เป็นเทวดาแบบไทยประเพณี กล่าวคือ แต่งกายยืนเครื่องคล้ายตัวพระในการแสดงโขนละคร อยู่ในท่ายืนและถือพระขรรค์ แต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความนิยมสร้างทวารบาลให้มีรูปแบบคล้ายทหารจีน มีหนวดเครา และถืออาวุธแบบจีน เช่น ง้าว หอก กระบี่ แทนทวารบาลแบบเดิม เรียกทวารบาลแบบจีนนี้ว่า เสี้ยวกาง หรือเซี่ยวกางมีหลักฐานปรากฏเช่น ที่วัดบวรนิเวศวิหาร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นต้น ความนิยมเช่นนี้อาจเกี่ยวข้องกับความเชื่อของจีนที่มีการทำรูปทหารจีนไว้ที่ประตูพระราชวังและศาลเจ้าเพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้าย

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 24
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท, ความเชื่อท้องถิ่น

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-09-15
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

พุทธาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร. กรุงเทพฯ : วัดบวรนิเวศวิหาร, 2556.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์, มลฤดี สายสิงห์. ศิลปกรรมวัดบวรนิเวศวิหาร.กรุงเทพฯ : วัดบวรนิเวศวิหาร, 2556.