ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

เจดีย์จุลประโทน

คำสำคัญ : เจดีย์จุลประโทน

ชื่อหลักเจดีย์จุลประโทน
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลพระประโทน
อำเภอเมือง
จังหวัดนครปฐม
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.815198
Long : 100.099469
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 618958.84
N : 1527594.24
ตำแหน่งงานศิลปะริมถนนเทศบาล 1

ประวัติการสร้าง

ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมทำให้กำหนดอายุได้ว่าสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี

กระบวนการสร้าง/ผลิต

ก่ออิฐถือปูน

ลักษณะทางศิลปกรรม

เจดีย์จุลประโทนสร้างขึ้นจากอิฐ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาแล้ว 1-2 ครั้งในอดีต สภาพปัจจุบันเหลือเพียงส่วนฐานและเรือนธาตุทึบตัน ส่วนยอดหักพังจนไม่เหลือร่องรอย

แผนผังของฐานล่างสุดเป็นผังสี่เหลี่ยม ประดับด้วยเสาคั่นเป็นระยะ ระหว่างเสาแต่ละต้นประดับภาพปูนปั้นและดินเผาเล่าเรื่องชาดกในพุทธศาสนาและรูปอื่นๆ ปัจจุบันเคลื่อนย้ายไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ แล้ว กึ่งกลางของแต่ละด้านเป็นบันไดขึ้นสู่ลานประทักษิณ ทั้งนี้ฐานส่วนนี้ปัจจุบันจมอยู่ใต้ดิน

องค์ประกอบชั้นถัดมาเดิมทีเคยอยู่ในผังสี่เหลี่ยมยกเก็จที่กลางด้านและที่มุม อันเป็นระเบียบทั่วไปของเจดีย์ทวารวดี แต่ต่อมาถูกก่อทับโดยฐานสี่เหลี่ยมที่ประดับด้วยบัววลัยหรือกลศและเสาคั่นเป็นระยะ ทำให้เกิดพื้นที่สี่เหลี่ยมระหว่างเสา ปัจจุบันฐานสี่เหลี่ยมนี้ปรักหักพังลงทำให้บางด้านสามารถมองเห็นฐานยกเก็จที่ซ้อนอยู่ภายในได้

ถัดขึ้นไปเป็นเรือนธาตุทึบตัน ประกอบด้วยซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปเรียงรายโดยรอบ พระพุทธรูปได้รับการเคลื่อนย้ายไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ แล้ว ถัดขึ้นไปไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร แต่ ศาสตราจารย์ ปิแอร์ ดูปองส์ สันนิษฐานว่าอาจซ้อนชั้นขึ้นไปเช่นเดียวกันกับเจดีย์กู่กุด อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

เป็นตัวอย่างเจดีย์ในศิลปะทวารวดีที่มีสภาพเพียงพอให้ศึกษาได้ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ค้นพบภาพชาดกจำนวนมาก

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะทวารวดี
อายุพุทธศตวรรษที่ 12-16
ศาสนาพุทธ
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนา

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-09-30
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

เชษฐ์ ติงสัญชลี. ศิลปะไทยภายใต้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียแบบปาละ. กรุงเทพฯ : มติชนปากเกร็ด, 2558.

ผาสุข อินทราวุธ, ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : อักษรสมัย, 2542.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547.

Dupont, Pierre. The Archaeology of the Mons of Dvaravati. Bangkok : White Lotus, 2006.