ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ใบเสมา
คำสำคัญ : หลักหิน, ใบเสมา, วัดพระพุทธบาทบัวบาน
ชื่อหลัก | พระพุทธบาทบัวบาน |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ที่อยู่ | บ้านไผ่ล้อม |
ตำบล | เมืองพาน |
อำเภอ | บ้านผือ |
จังหวัด | อุดรธานี |
ภาค | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 17.628085 Long : 102.336628 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 Q Hemisphere : N E : 216967.14 N : 1951085.43 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบานในบริเวณที่เรียกว่า บวชพระปู่ |
ประวัติการสร้าง | ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมที่เป็นใบเสมาแบบแผ่นแบนที่พบได้ทั่วไปในอีสาน ทำให้กำหนดอายุได้ว่าสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | ใบเสมากลุ่มนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 24 ใบ ทุกใบอยู่ในทรงแผ่นแบน ปักตรงตามแนวทิศทั้งแปด ทิศละ 3 ชั้น ล้อมรอบพื้นที่สี่เหลี่ยม ความสูงของใบเสมาแต่ละชั้นไม่เท่ากัน ใบเสมาชั้นในสูงที่สุดจากนั้นค่อยๆ ไล่ลำดับความสูงลงมายังชั้นกลางและชั้นนอก ใบเสมาชั้นในกับชั้นนอกตั้งอยู่เคียงกันในขณะที่ชั้นนอกอยู่ห่างออกไปหลายเมตร ด้านในของใบเสมาชั้นในสลักภาพเล่าเรื่องที่บริเวณโคน สันนิษฐานว่าเป็นชาดก ในขณะที่ใบเสมาชั้นกลางและชั้นนอกสลักรูปกรวยเป็นส่วนใหญ่ |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ใบเสมากลุ่มนี้ได้รับการขุดแต่งทางโบราณคดีเป็นอย่างดี มีสภาพสมบูรณ์ เดิมทีใบเสมาเหล่านี้เอียงล้มลงทั้งหมด ต่อมาได้รับการบูรณะและจับตั้งขึ้น ใบเสมาเหล่านี้จึงอยู่ในตำแหน่งดั้งเดิม นับเป็นตัวอย่างเพียงไม่กี่แห่งที่สามารถทราบตำแหน่งการปักดั้งเดิม จึงมีคุณค่าทางวิชาการสูง |
ข้อสังเกตอื่นๆ | ใกล้กันกับใบเสมากลุ่มนี้มีก้อนหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่ริมผา มีภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ปรากฏให้เห็นอยู่ และมีใบเสมาจำนวนหนึ่งปักอยู่ใกล้ๆ โดยไม่เป็นระเบียบ น่าจะมีความเกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่งกับใบเสมากลุ่มนี้ การปักใบเสมาซ้อน 3 ชั้นอาจตรงกับอรรถกถาพระวินัยปิฎก อุโบสถขันธกะระบุไว้ว่า ใบเสมาชั้นในล้อมรอบพื้นที่ขัณฑสีมา (แปลว่าเขตเล็กหรือเขตย่อย) ซึ่งมีอุโบสถอยู่ภายใน ใบเสมาชั้นกลางล้อมรอบพื้นที่สีมันตริก (พื้นที่ระหว่างเบสมาชั้นในกับชั้นกลาง) อันเป็นพื้นที่ว่างที่เสมือนแนวกันไฟไม่ให้ขัณฑสีมากับมหาสีมาใกล้กันเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดสีมาวิบัติได้ ใบเสมาชั้นนอกล้อมรอบมหาสีมา (แปลว่าเขตใหญ่ เป็นพื้นที่ระหว่างใบเสมาชั้นกลางกับชั้นนอก) |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ทวารวดี |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 12-16 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | กลุ่มใบเสมาเมืองชัยวาน อำเภอโคกโพธิ์ชัย จังหวัดขอนแก่น |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-08-19 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. รายงานการวิจัยเรื่องหลักหิน-ใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557. สุวิทย์ ชัยมงคล และคณะ. ใบเสมากลุ่มพระพุทธบาทบัวบาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2541. |