ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

จิตรกรรมฝาผนังที่พระพุทธรัตนสถาน

คำสำคัญ : พระบรมมหาราชวัง, พระที่นั่ง, วังหลวง, จิตรกรรมฝาผนัง, จิตรกรรมฝาผนังที่พระพุทธรัตนสถาน

ชื่อเรียกอื่น-
ชื่อหลักพระพุทธรัตนสถาน
ชื่ออื่นพระพุทธนิเวศน์, พระบรมมหาราชวัง, วังหลวง
ประเภทงานศิลปะจิตรกรรม
ตำบลพระบรมมหาราชวัง
อำเภอเขตพระนคร
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 14.798756
Long : 100.613852
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 673682.52
N : 1636692.66
ตำแหน่งงานศิลปะแกนกลางของวัด

ประวัติการสร้าง

จิตรกรรมฝาผนังภายในพุทธรัตนสถานที่เคยมีมาแต่เดิมเขียนโดยช่างจีน 10 คน โดยจ่ายค่าจ้างด้วยข้าวสาร จิตรกรรมฝาผนังทั้ง 4 ด้าน เขียนเล่าประวัติของพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย พระพุทธรูปประธานเดิมของพระพุทธรัตนสถาน

ต่อมาพระพุทธรัตนสถานได้รับความเสียหายในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2504 สำนักพระราชวังได้มอบหมายให้กรมศิลปากรเขียนภาพพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 และพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในช่วงพ.ศ. 2488 – 2499

เมื่อปี พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระราชปรารภให้กรมศิลปากรแก้ไขจิตรกรรมฝาผนังในพระพุทธรัตนสถานให้สัมพันธ์กับอาคาร โดยให้ลอกของเดิมที่เขียนเมื่อ พ.ศ. 2504 ออกแล้วอนุรักษ์ไว้ แล้วเขียนจิตรกรรมฝาผนังใหม่ เป็นเรื่องประวัติของพระพุทธรัตนสถานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชได้ทอดพระเนตรและพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย กรมศิลปากรได้นำกลับไปแก้ไขตามพระราชประสงค์อีก 3 ครั้ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเป็นแบบในการขยายลงสู่ผนังจริง เริ่มลงมือเขียนภาพจริงเมื่อพ.ศ. 2546 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2547
กระบวนการสร้าง/ผลิต

-

ประวัติการอนุรักษ์

-

ลักษณะทางศิลปกรรม

จิตรกรรมฝาผนังภายในพระพุทธรัตนสถานแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ผนังเหนือช่องประตูและหน้าต่างเป็นงานจิตรกรรมดั้งเดิมสมัยรัชกาลที่ 4 เขียนเรื่องประวัติพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย ตั้งแต่อัญเชิญเสด็จจากลพบุรีสู่เมืองหริภุญชัยไปจนถึงการเสด็จสู่กรุงรัตนโกสินทร์และการสมโภช มีการผสมผสานระหว่างเทคนิคการเขียนแบบไทยประเพณีดั้งเดิมเข้ากับเทคนิคการเขียนจิตรกรรมแบบตะวันตกที่เพิ่งจะเข้ามาในสมัยนั้น ทำให้ภาพจิตรกรรมฝาผนังมีความสมจริงมากขึ้นกว่างานแบบไทยประเพณีดั้งเดิม จิตรกรรมฝาผนังระหว่างช่องหน้าต่างเล่าประวัติของพระพุทธรัตนสถานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 9 โดยมีการแทรกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์หรือบริบทสังคมในสมัยนั้นๆ ลงไปในฉาก เป็นงานที่ผสมผสานจิตรกรรมแบบไทยประเพณีและทัศนียวิทยาแบบตะวันตก มีการแสดงรูปบุคคล เครื่องแต่งกาย พาหนะ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรมประเพณีตรงตามยุคสมัยในฉากนั้นๆเพื่อให้เกิดความสมจริง

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระพุทธรัตนสถานขึ้นใหม่ มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติการก่อสร้างพระพุทธรัตนสถาน และพระราชกรณียกิจที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 4 - รัชกาลที่ 9 รูปแบบของงานจิตรกรรมมีความสมจริงแบบร่วมสมัย ปรากฏเหตุการณ์และสถานที่ต่างๆ ที่มีอยู่จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพพระพุทธรัตนสถานที่ปรากฏอยู่เกือบทุกห้องภาพซึ่งเป็นพระราชกรณียกิจในแต่ละรัชกาล

ข้อสังเกตอื่นๆ

-

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 24-26
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องศิลปะในราชสำนัก
ตำนานที่เกี่ยวข้อง

-

งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

-

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2017-05-06
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานตามแนวพระราชดำริ. เล่ม 3. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2548.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ : พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2556.

รัตนะแห่งจิตรกรรม : จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ 9. กรุงเทพฯ: ดาวฤกษ์, 2556.