ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถานีรถไฟกรุงเทพ
คำสำคัญ : สถานีรถไฟกรุงเทพ, สถานีรถไฟหัวลำโพง, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, รัชกาลที่ 5
ชื่อเรียกอื่น | สถานีรถไฟหัวลำโพง |
---|---|
ชื่อหลัก | สถานีรถไฟหัวลำโพง |
ชื่ออื่น | สถานีรถไฟหัวลำโพง |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | รองเมือง |
อำเภอ | เขตปทุมวัน |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.738404 Long : 100.517137 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 664037.6 N : 1519311.21 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ริมคลองผดุงกรุงเกษม |
ประวัติการสร้าง | สถานีรถไฟหัวลำโพงเดิมเป็นอาคารไม้ 2 ชั้นต่อมาในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ในราวปีพ.ศ. 2449 เกิดแนวคิดการสร้างสถานีรถไฟในสวยสง่าด้วยแบบร่างของคาร์ล เดอริงห์ แต่สุดท้ายใช้แบบร่างของมาริโอ ตามาญโญ โดยเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2453 มีนายเกอร์เบอร์เป็นวิศวกร แล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทรงเปิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 |
---|---|
ขนาด | - |
ลักษณะทางศิลปกรรม | สถานีรถไฟหัวลำโพงนี้เป็นสถานีรถไฟแบบปลายตัน ประกอบด้วยอาคาร 2 ส่วนเชื่อมต่อกัน คือโถงระเบียงหน้าสถานีและโถงชานชาลา โถงระเบียงหน้าออกแบบโดยนายมาริโอ ตามาญโญในปี พ.ศ. 2455 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2459 มีผังเป็นรูปตัว E มีมุขกลางขนาดใหญ่มีหลังคาโค้ง ปลายสองด้านเป็นป้อมรูปสี่เหลี่ยมเชื่อมต่อกันด้วยระเบียงยาวชั้นเดียว ใช้เสาไอโอนิครับน้ำหนัก ส่วนโถงชานชาลาสร้างขึ้นก่อนโดยนายเกอร์เบอร์ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2455 เป็นอาคารโถงหลังคาโค้งกว้างทำด้วยเหล็ก ผนังด้านหน้ากรุแผ่นกระจกเล็กๆเรียงกัน มีหอคอยสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ปลายปีกทั้งสองด้าน |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | สถานีรถไฟกรุงเทพฯ หรือสถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นสถานีรถไฟหลักและเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกแบบอิตาเลียน-เรอเนสซองซ์ ที่โดดเด่นด้วยโดมโค้งขนาดใหญ่ที่มีช่วงกว้างและผนังกระจกใหญ่ที่สุดในประเทศขณะนั้น ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี ประดับอาคารบางส่วนด้วยหินอ่อนและลวดลายปูนปั้น โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | กลางพุทธศตวรรษที่ 25 |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | - |
ตำนานที่เกี่ยวข้อง | - |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. สถานีรถไฟพอร์ตา นูวาแห่งเมืองโตริโน ประเทศอิตาลี สถานีรถไฟที่มีด้านหน้าโถงชานชาลาคล้ายคลึงกับสถานีรถไฟหัวลำโพง คนออกแบบคือนายคาร์โล เซปปิ(Carlo Ceppi) ซึ่งนายตามาญโญเคยทำงานให้ 2. สถานีรถไฟแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี สถานีรถไฟสมัยใหม่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 (คริสต์ศตวรรษที่ 19) มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมในยุคสมัยเดียวกันกับสถานีรถไฟหัวลำโพง |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2017-02-24 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยามสมัยรัชกาลที่ 4 – พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553. เอเลนา ตามานโญ. “มาริโอ ตามานโย 25 ปี แห่งการเป็นสถาปนิกในราชสำนักสยาม (2443 - 2468)” เมืองโบราณ. ปีที่ 24, ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2541), 23 – 45. การรถไฟแห่งประเทศไทย. สถานีรถไฟ: บันทึกความทรงจำความผูกพันและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: การรถไฟแห่งประเทศไทย, 2554. สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถานีรถไฟกรุงเทพฯที่ไม่ได้สร้าง : หน่ออ่อนของสถาปัตยกรรมใหม่ในสยาม. เมืองโบราณ. ปีที่ 25, ฉบับที่ 1(ม.ค. – มี.ค. 2542): 32 – 42. |