ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตึกแถวถนนหน้าพระลาน
คำสำคัญ : ตึกแถว, ถนนหน้าพระลาน, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, รัชกาลที่ 5
ชื่อเรียกอื่น | ตึกฝรั่ง |
---|---|
ชื่อหลัก | ถนนหน้าพระลาน |
ชื่ออื่น | ท่าช้าง |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | วังบูรพาภิรมย์ |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.752482 Long : 100.489977 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 661090.68 N : 1520850.34 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ริมถนนหน้าพระลาน |
ประวัติการสร้าง | ตึกแถวบริเวณถนนหน้าพระลานนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมกับการขยายถนนหน้าพระลาน โดยได้โปรดเกล้าฯให้รื้อกำแพงวังและให้สร้างตึกแถวเพื่อใช้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองและใช้ในการพาณิชย์ |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ก่ออิฐฉาบปูน |
ประวัติการอนุรักษ์ | สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้บูรณะตึกแถวถนนหน้าพระลานระหว่างปี พ.ศ. 2552 – 2554 |
ขนาด | - |
ลักษณะทางศิลปกรรม | เป็นอาคารสองชั้น ผังอาคารมีลักษณะเป็นรูปตัว E ขนานไปกับแนวถนน มี 3 มุขคือ มุขกลางและหัวท้ายโดยเชื่อมต่อกันด้วยปีก มีการแบ่งเป็นห้องๆ มุขกลางมี 3 ห้อง มีหน้าบันครึ่งวงกลมขนาดใหญ่ตกแต่งด้วยปูนปั้นรูปดอกบัวขนาบด้วยแจกัน คอสองประดับเฟื่องอุบะ ระเบียงชั้นสองมีเสาลอยรับหน้าบัน หน้าต่างโค้งแบบบานแฝดในกรอบวงโค้งคู่กับซุ้มโค้งด้านล่างที่มีชุดบานเฟี้ยม หลังคามุงด้วยกระเบื้องว่าว |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ตึกแถวที่ริมถนนหน้าพระลานสร้างขึ้นในบริเวณเดิมของวังและแนวกำแพงวังที่อยู่ใกล้กันกับพระบรมมหาราชวัง ก่อสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อให้เช่าเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นอาคารพาณิชย์ โดยส่งผลประโยชน์ต่างๆ ให้แก่เจ้าของวัง ตึกแถวเหล่านี้จะหันหน้าสู่ถนนอันเป็นเส้นทางสัญจรใหม่ในสมัยนั้น รูปแบบของตึกแถวได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะตะวันตก ซึ่งนิยมประดับประดาอาคารด้วยลายปูนปั้น ซุ้มประตูหน้าต่างวงโค้ง ซึ่งเป็นรูแบบที่คล้ายกันกับตึกแถวที่ถนนมหาราช |
ข้อสังเกตอื่นๆ | - |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | กลางพุทธศตวรรษที่ 25 |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | - |
ตำนานที่เกี่ยวข้อง | - |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | ตึกแถวบนถนนมหาราช ตึกแถวในพื้นที่ใกล้เคียงที่สร้างในยุคสมัยเดียวกันและมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ใกล้เคียงกัน |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2017-02-01 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์, |
บรรณานุกรม | สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยามสมัยรัชกาลที่ 4 – พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553. 183 มรดกสถาปัตยกรรมในประเทศไทย เล่ม 2 : 1 ทศวรรษรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น 2546 – 2555. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยาม, 2555. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร และคณะ. พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบสถาปัตยกรรม : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยาม, 2536. |