ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตึกแถวถนนราชดำเนินกลาง
คำสำคัญ : ตึกแถว, ถนนราชดำเนิน, ตึก, อาคาร
ชื่อเรียกอื่น | - |
---|---|
ชื่อหลัก | ถนนราชดำเนินกลาง |
ชื่ออื่น | - |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | บวรนิเวศ |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.757387 Long : 100.500247 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 662197.86 N : 1521399.86 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ริมถนนราชดำเนินกลางทั้งสองฝั่ง |
ประวัติการสร้าง | อาคารตลอดแนวถนนราชดำเนินกลางนี้เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2480 โดยเวนคืนที่ดินทั้งสองฝั่งข้างละ 40 เมตร สถาปนิกสำคัญคือ จิตรเสน (หมิว) อภัยวงศ์ งานก่อสร้างดำเนินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 เรื่อยไปจนถึง พ.ศ. 2491 มีอาคารจำนวน 15 หลัง ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 10 ล้านบาท ประกอบด้วยอาคารพาณิชย์ โรงมหรสพ และโรงแรม |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก |
ประวัติการอนุรักษ์ | - |
ลักษณะทางศิลปกรรม | อาคารบนถนนราชดำเนินกลางนี้มีลักษณะที่ผสมผสานสถาปัตยกรรมตะวันตกที่ใช้รูปทรงเรขาคณิตมาประกอบกัน วางอาคารยาวตามแนวของถนน อาคารเป็นทรงตึกสูง 3 ชั้นครึ่ง แบ่งอาคารออกเป็นช่วงๆ บริเวณมุมก่อมุขโค้งครึ่งวงกลม มีทางเข้าอยู่ตรงกลาง มีแนวครีบคอนกรีตทางตั้งระหว่างหน้าต่างและกันสาดบริเวณทางเข้า ส่วนหน้าต่างอื่นๆมีกันสาดคอนกรีตเสริมเหล็กด้านบนและปูนปั้นด้านล่าง ลวดลายตกแต่งทางสถาปัตยกรรมมีการลดทอดจนเหลือเพียงเค้าโครงเส้นรอบนอก ผนังด้านนอกฉาบปูนไม่เรียบและเซาะร่องเลียนแบบการเรียงหิน หลังคาตัดเป็นดาดฟ้าบริเวณส่วนโค้งบริเวณมุมหรือปลายอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ตรงกลางเป็นหลังคาจั่วโค้งโครงไม้มุงกระเบื้องโดยมีการยกขอบสูงเพื่อบังและทำเป็นกันสาดไม่ให้เห็นจากภายนอก |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ตึกแถวที่ถนนราชดำเนินกลางเป็นอาคารที่สร้างขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร เพื่อให้ถนนราชดำเนินเป็นย่านการค้าและเป็นที่ชุมนุมของประชาชนเพื่อดูงานสำคัญต่างๆ ของชาติที่จะจัดขึ้นบนถนนสายนี้ ตึกแถวย่านนี้ออกแบบตามอิทธิพลของสถาปัตยกรรมยุคใหม่ (Modern Architecture) ซึ่งให้ความสำคัญกับรูปทรงเรขาคณิต คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยไม่เน้นการประดับประดา จึงมีลักษณะเป็นทรงตึกหลังคาตัด |
ข้อสังเกตอื่นๆ | 1. กลุ่มอาคารที่ลดการตกแต่งลวดลายและองค์ประกอบลงเป็นสัญลักษณ์สำคัญในการสื่อความเป็นสามัญชน ความเสมอภาค และความมีอารยะและต่อต้านฐานันดรศักดิ์ 2. การสร้างอาคารโดยใช้คอนกรีตเป็นวัสดุหลักแต่ทำให้ดูคล้ายกับตกแต่งด้วยหินนั้นสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดการต่อต้านฐานันดรศักดิ์และการลงทุนของชาวต่างชาติในเวลาเดียวกัน เพราะหินเป็นวัตถุที่แสดงถึงความมีอารยะของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แต่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | ปลายพุทธศตวรรษที่ 25 |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | - |
ตำนานที่เกี่ยวข้อง | - |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | อาคารไปรษณีย์กลางบางรัก สถาปัตยกรรมในยุคสมัยเดียวกันแต่สร้างขึ้นก่อน คือ ปีพ.ศ. 2477 ออกแบบโดยจิตรเสน อภัยวงศ์ โดยผนังด้านนอกของอาคารหลังนี้มีการตกแต่งลวดลายเลียนแบบหินด้วยซีเมนต์ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2017-02-15 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | พินัย สิริเกียรติกุล “ณ ที่นี้ ไม่มี “ความเสื่อม” : ถนนราชดำเนิน พ.ศ. 2484 – 2488” วารสารหน้าจั่วว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย. ฉบับที่ 6 (ก.ย. 2552 – ส.ค. 2553): 8 – 51. ชาตรี ประกิตนนทการ. การเมืองและสังคมในศิลปะสถาปัตยกรรม สยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม. กรุงเทพฯ: มติชน, 2550. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร และคณะ. พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบของงานสถาปัตยกรรม : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยาม, 2536. งานผังรูปแบบ ฝ่ายอนุรักษ์โบราณสถาน กองโบราณคดี กรมศิลปากร. รายงานการสำรวจโบราณสถานในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: งานผังรูปแบบ ฝ่ายอนุรักษ์โบราณสถาน กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2538. |