ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปูนปั้นประดับวิหารวัดนางพญา
ชื่อเรียกอื่น | - |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดนางพญา |
ชื่ออื่น | - |
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | ศรีสัชนาลัย |
อำเภอ | ศรีสัชนาลัย |
จังหวัด | สุโขทัย |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 17.428698 Long : 99.788477 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 Q Hemisphere : N E : 583737.08 N : 1927153.43 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ผนังด้านใต้ของวิหาร |
ประวัติการสร้าง | วัดนางพญาไม่ปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษรที่ระบุศักราชการสร้างที่แน่ชัด แต่จากรูปแบบของเจดีย์ประธานที่แสดงความเกี่ยวข้องกับเจดีย์ศิลปะอยุธยาอย่างใกล้ชิด จึงเชื่อกันว่าน่าจะสร้างขึ้นในระยะที่เมืองศรีสัชนาลัยอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยาแล้ว หรือราวสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 21 เมื่อพระองค์ขับไล่กองทัพล้านนาออกจากเมืองนี้ได้สำเร็จ วิหารซึ่งรวมทั้งงานปูนปั้นประดับก็คงสร้างขึ้นในระยะเวลานี้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ลวดลายปูนปั้นแห่งนี้จึงมีความสัมพันธ์กับลายเครือเถาในศิลปะล้านนาอย่างมาก อันมีต้นแบบอยู่ในศิลปะจีนหรือตะวันออกลางอีกทอดหนึ่ง |
---|---|
ประวัติการอนุรักษ์ | ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 การบูรณะเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2509 โดยเริ่มบูรณะเจดีย์บริเวณฐานประทักษิณ ซุ้มที่องค์ระฆัง บัลลังก์ บันได บัวคว่ำบัวหงายบางตอน ซ่อมลูกกรงฐานประทักษิณ อุดช่องโหว่ที่ถูกขุดค้นบริเวณบัลลังก์และองค์ระฆัง 3 แห่ง บูรณะฐานวิหารทั้ง 4 ด้าน เสาบางต้น ฐานชุกชีและบริเวณมุมทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เจดีย์รายด้านทิศเหนือ 2 องค์ โบสถ์บูรณะฐานทั้ง 4 ด้าน บันไดขึ้นด้านหน้าทั้ง 2 ด้าน รวมทั้งประตูทางเข้าวัดด้านหน้า ต่อมาได้ดำเนินการอีกครั้งระหว่าง พ.ศ. 2530 และบูรณะลวดลายปูนปั้น พ.ศ. 2532 |
ลักษณะทางศิลปกรรม | งานปูนปั้นประดับผนังวิหารด้านใต้ของวัดนางพญากำลังชำรุดหลุดล่วงลงตามกาลเวลา เดิมทีคงมีงานปูนปั้นประดับทั้งด้าน แต่ปัจจุบันเหลือชัดเจนเพียงแค่ผนังระหว่างช่วงเสากลางเท่านั้น ผนังวิหารก่อด้วยศิลาแลง ทำช่องแสงหรือช่องลมไว้ตรงกลาง ตกแต่งผนังด้วยปูนปั้นเลียนแบบฝาไม้ลูกฟัก ภายในลูกฟักและช่องแสงประดับด้วยงานปูนปั้น ออกแบบเป็นลวดลายประเภทเครือเถาหรือพรรณพฤกษา ซึ่งประกอบด้วยก้าน ใบ และดอก พันเกี่ยวกันเต็มพื้นที่ผนัง |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ลายปูนปั้นประดับผนังวิหารวัดนางพญาเป็นลวดลายที่มีความงดงามอย่างยิ่ง มีลักษณะเป็นลายเครือเถาหรือลายพันธุ์ไม้อันประกอบด้วยก้าน ใบ และดอก สะท้อนความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับลวดลายในศิลปะล้านนา จีน และตะวันออกกลาง ซึ่งสามารถนำไปศึกษาเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างดินแดนไทยกับดินแดนภายนอกได้อีกมาก |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | อยุธยา |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 21 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-05-28 |
ผู้จัดทำข้อมูล | ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | คณะกรรมการปรับปรุงโบราณสถาน จังหวัดสุโขทัยและกำแพงเพชร. รายงานการสำรวจและขุดแต่งบูรณะโบราณสถานเมืองเก่ากำแพงเพชร เมืองศรีสัชนาลัย พ.ศ. 2508 – 2512. พระนคร: กรม, 2514. สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2549. สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะอยุธยา งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2542. |