ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 657 ถึง 664 จาก 941 รายการ, 118 หน้า
อิสตานา เปนาหงัน
กัวลากังสาร์
สถาปัตยกรรมอิสตานา เปนาหงัน

พระราชวังดังกล่าว แม้ว่าจะสร้างขึ้นตามอิทธิพลตะวันตก แต่การใช้ “ฝาขัดแตะ” มาเป็นผนังโดยปราศจากการใช้ตะปูแม้แต่เพียงตัวเดียว ถือเป็นความสำเร็จที่น่าอัศจรรย์ของสถาปนิกชาวมาเลย์ ฝาขัดแตะยังทำให้เกิดสีสันของผนังอาคารที่แตกต่างไปจากอาคารที่ก่อผนังด้วยวัสดุถาวรอีกด้วย ฝาขัดแตะรวมถึงหน้าต่างและบานเฟี้ยมจำนวนมาก ย่อมทำให้อาคารระบายอากาศได้ดี รับกับสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นของมาเลเซีย

พิพิธภัณฑ์รัฐเปรัค
กัวลากังสาร์
สถาปัตยกรรมพิพิธภัณฑ์รัฐเปรัค

อาคารพิพิธภณฑ์รัฐเปรัค มมีการออกแบบที่น่าสนใจมาก เนื่องจากมีการหยิบยืมเอา façade ด้านหน้าโบสถ์ในศาสนาคริสต์ มาใช้เป็นอาคารมุมของพิพิธภัณฑ์ซึ่งจัดวางอยู่ในแผนผังแบบ Palladium ลักษณะของfacade แบบโบสถ์คริสต์ คือเป็นแผงหน้าบันซึ่งขนาบข้างไปด้วยหอคอยสองหอ การออกแบอาคารหลังนี้จึงแสดงความก้าวหน้าของสถาปนิกที่ไม่ยึดติดการจำกัดกั้นระหว่างอาคารทางศาสนากับอาคารทางราชการ

หอนาฬิกาเมืองไตปิง
ไตปิง
สถาปัตยกรรมหอนาฬิกาเมืองไตปิง

หอนาฬิกาแห่งนี้มีส่วนผสมของหอคอยที่มีหลังคาทรงกรวยสูงตามแบบโกธิค กับองค์ประกอบของอาคารตามแบบคลาสิก เช่น อาร์คโค้งรองรับด้วยเสา และหน้าจั่วสามเหลี่ยม (pediment) หอคอยแบ่งออกได้เป็นสามส่วน คือตัวอาคารด้านล่างซึ่งวางผังเฉียงสอดรับกับการเป็นหัวมุมสี่แยก ถัดขึ้นมาได้แก่หอคอยสำหรับให้คนขึ้นสังเกตการณ์ ออกแบบโดยใช้องค์ประกอบแบคลาสสิก ถัดขึ้นไปจึงเป็นหลังคาแหลมสูงแบบโกธิคคั่นด้วยตำแหน่งของนาฬิกา อนึ่ง เดิมทีหอนาฬิกาแห่งนี้สร้างติดกับอาคารทรงป้อมปราการซึ่งถูกรื้อลงแล้ว

โบสถ์โอลด์เซนต์
ไตปิง
สถาปัตยกรรมโบสถ์โอลด์เซนต์

โบสถ์มีลักษณะเป็นอาคารไม้ซึ่งดูคล้ายกับอาคารในชนบทของยุโรป อาคารอยู่ในผังแบบไม้กางเขน หลังคามีสองชั้นและผนังด้านข้างเป็นบานเฟี้ยมที่มารถเปิดระบายอากาศได้ ด้านหน้ามีหอระฆังขนาดเล็กและมีหน้าต่างรูปดอกกุหลาบซึ่งถือเป็นลักษณะปกติของโบสถ์โดยทั่วไป กระจกสีซึ่งถูกติดตั้งเข้าไปเพิ่มเติมในปี 1911 ช่วยเพิ่มคงามงดงามให้แก่โบสถ์แห่งนี้อย่างมาก

มัสยิดจาเม็ก
กัวลาลัมเปอร์
สถาปัตยกรรมมัสยิดจาเม็ก

เป็นมัสยิดทีผสมผสานกันระหว่างอิทธิพลศิลปะโมกุลแบบอินเดียและศิลปะมัวร์แบบสเปน โดยที่แผนผังของอาคาร การใช้โดมสามโดมเรียงกันและรูปแบบของหอคอยซึ่งวางฉัตรีด้านบนสุดนั้นเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอินเดีย อย่างไรก็ตาม ยังมีการใช้วัสดุสลับสีและอาร์ควงโค้งหลายวงต่อเนื่องกันซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะมัวร์ด้วย

อาคารอับดุลซามัด
กัวลาลัมเปอร์
สถาปัตยกรรมอาคารอับดุลซามัด

ลักษณะที่โดดเด่นที่สุดสำหรับอาคารหลังนี้ก็คือการประกอบหอนาฬิกาซึ่งมีโดมอยู่ด้านบน โดมนี้หุ้มด้วยทองแดงทำให้ดูโดดเด่น หอคอยนี้ดูคล้ายกับหอนาฬิกาที่กรุงลอนดอนในขณะที่องค์ประกอบของอาคารในส่วนอื่นๆแล้วแต่ได้รับอิทธิพลมาจกศิลปะมัวร์ของสเปนผสมผสานกับแบบโกธิค เช่น อาร์ควงโค้งเกือกม้าแบบสเปนที่ชั้นล่างและอาร์คที่มีเสาคั่นกลางแบบโกธิคที่ชั้นบนของอาคาร เป็นต้น

อาคารพิพิธภัณฑ์ผ้า
กัวลาลัมเปอร์
สถาปัตยกรรมอาคารพิพิธภัณฑ์ผ้า

องค์ประกอบของอาคารได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะมัวร์ของสเปนผสมผสานกับแบบศิลปะโมกุลของอินเดีย แนวโน้มดังกล่าวนี้ปรากฏกับอาคารอารานคมอังกฤษหลายหลังที่มีความพยายามจะเสาะแสวงหาศิลปะอิสลามที่งดงามแล้วนำมาออกแบบใหม่ภายใต้สกุลสถาปัตยกรรมที่เรียกกันว่า Indo-Sarasenic Style ลักษณะแบมัวร์ เช่น อาร์ควงโค้งเกือกม้าและการสลับหินสีแบบสเปน ส่วนรูปแบบโดมและหอคอยนั้นกลับใช้อาคารแบบฉัตรีของอินเดียมาประดับเป็นหลัก

โบสถ์เซนต์ปอล
มะละกา
สถาปัตยกรรมโบสถ์เซนต์ปอล

อาคารสร้างด้วยศิลาแลง เป็นอาคารทรงโรงที่มีหน้าจั่วแบบคลาสสิกและมีหน้าต่างกุหลาบ (rose window) ทางด้านหน้าอย่างเรียบง่าย ภายในอาคารดูเรียบง่ายเช่นเดียวกัน ที่พื้นปรากฏแผ่นปิดหลุมศพจำนวนมากซึ่งถือเป็นธรรมเนียมของชาวคริสต์ที่มักฝังศพไว้ใต้พื้นโบสถ์เพื่อรับใช้พระจ้า