ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมโบสถ์ประจำเมืองมะละกา
โบสถ์ประจำเมืองมะละกา สร้างด้วยหน้าบันตามแบบบารอคซึ่งเป็นที่นิยมในศิลปะดัชต์ อย่างไรก็ตาม ภายในกลับมุงหลังคาด้วยเครื่องไม้มุงกระเบื้องตามแบบพื้นเมือง มุขด้านหน้าที่มีองค์ประกอบเป็นแบบคลาสิกนั้นถูกเพิ่มเข้ามาภายหลังจากที่อังกฤษเข้ายึดครองแล้ว
สถาปัตยกรรมสตัตทุยส์
เป็นอาคารที่ตั้งอยู่ด้านหน้าจัตุรัส ซึ่งถือเป็นการออกแบบอาคารสำคัญในศิลปะตะวันตกทีมักหันหน้าสู่จัตุรัสเสมอ ด้านหน้ามีบันไดทางขึ้นอาคารที่แสดงถึงความสง่างาม อาคารหลังนี้เป้นอาคารสามชั้นที่ด้านหลังพิงอยู่กับเนินเขากลางเมืองมะละกา
สถาปัตยกรรมหอคอยมัสยิดกำปงกลิง
อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย
สถาปัตยกรรมมัสยิดกำปงกลิง
อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ระบบนี้แตกต่างไปจากมัสยิดในพื้นที่อื่นๆทีมักอยู่ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าและหลังคาเป็นหลังคาตัดประกอบด้วยโดมจำนวนมาก มัสยิดแบบหลังคาลาดนี้ ยังปรากฏกับมัสยิดกำปงฮูลูในเมืองมะละกาเช่นเดียวกัน มัสยิดทั้งสองถือเป็นมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ที่สมบูรณ์ที่สุดและเป็นมัสยิดรุ่นเก่าก่อนที่ระบบโดมจะถูกนำเข้ามาโดยสถาปนิกชาวอังกฤษในภายหลัง
สถาปัตยกรรมมัสยิดกำปงฮูลู
อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือมัสยิดเป็นมัสยิดที่ผสมผสานกันระหว่างศิลปะมาเลเซียกับอิทธิพลจีนดังจะเห็นได้จากหลังคาที่งอนขึ้น กระเบื้องเคลือบจีนก็ถูกใช้ในการตกแต่งมัสยิดในจุดต่างๆ เช่นการมุงหลังคา
ประติมากรรมหอคอยมัสยิดกำปงฮูลู
หอคอยมัสยิดกำปงฮูลู มีลักษณะพิเศษและน่าสนใจ เนื่องจากเป็นหอคอยที่จำลองแบบมาจากประภาคาร เป็นหอคอยในผังแปดเหลี่ยมทรงสอบซึ่งมีอาคารอยู่ด้านบน แตกต่างไปหอคอยของมัสยิดกำปงกลิงที่เป็นหอคอยแบบถะจีน อนึ่งการใช้ประภาคารมาเป็นหอคอยมัสยิดนั้นแสดงอิทธิพลแบบตะวันตกที่ถูกประยุกต์ใช้ในเอเชียอาคเนย์ พบอีกที่หนึ่งคือหอคอยของมัสยิดมลายูที่เมืองปีนัง
สถาปัตยกรรมมัสยิดสุลต่านอบูบักร์
สถาปัตยกรรมที่นี่มีความเกี่ยวข้องกับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมอังกฤษแบบวิคตอเรียนอย่างมาก ทางเข้าทั้งสามทิศปรากฏหอคอยซึ่งจำลองแบบมาจากหอนาฬิกาในศิลปะอังกฤษ ตัวแผงด้านหน้าเองก็ใช้องค์ประกอบแบบคลาสิกประดับทั้งหมด โดยแทบจะไม่มีองค์ประกอบแบบอินเดียหรือแบบมัวร์เข้ามาปะปนเลย ซึ่งแตกต่างไปจากมัสยิดโดยทั่วไปในสมัยอาณานิคม
สถาปัตยกรรมโบสถ์ซานเซบาสเตียน
โบสถ์ซานเซบาสเตียน มะนิลา ถือเป็นโบสถ์เพียงไม่กี่แห่งในกรุงมะนิลาที่สร้างขึ้นตามแบบโกธิค ภายในเป็นโบสถ์ทีมีความสูงโปร่งและมีเสาที่ผอมบางอันเป็นการเลียนแบบศิลปะโกธิคตอนปลาย หลังคาเองก็ปรากฏ “สัน” (rib) ตัดกันจำนวนมากซึ่งเป็นการเลียนแบบศิลปะโกธิคตอนปลาย หน้าต่างของโบสถ์แห่งนี้ประดับด้วยกระจกสี ทำให้ภายในโบสถ์ค่อนข้างมืดอันเป็นเทคนิคการจำกัดแสตามแบบโกธิค