ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 313 ถึง 320 จาก 354 รายการ, 45 หน้า
ฐานของพระพุทธรูปสำริด
เวียงจันทน์
ประติมากรรมฐานของพระพุทธรูปสำริด

ในพุทธศตวรรษที่ 22-24 พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างมักมีฐานที่สูงและมีลวดบัวที่ซับซ้อน โดยฐานมักหล่อเป็นสำริดเช่นเดียวกับ ฐานมักประกอบด้วยฐานสิงห์ซึ่งมีกาบเท้าสิงห์ประกอบไปด้วยวงโค้งต่อเนื่องกันคล้ายศิลปะอยุธยาตอนกลาง ถัดขึ้นมาได้แก่บังคว่ำและท้องไม้ซึ่งคาดลูกแก้วอกไก่ ถัดขึ้นไปคือบัวหงายประกบบัวคว่ำอันเป็นการลดความแข้งกระด้างของหน้ากระดานบนและทำให้ฐานสามารถแสดงการ “งอน” ได้ตามต้องการ การงอนนี้ถือเป็นสุนทรียภาพสำคัญของลวดบัวในศิลปะล้านช้าง

พระพุทธรูปสำริด
เวียงจันทน์
ประติมากรรมพระพุทธรูปสำริด

ในพุทธศตวรรษที่ 22-24 พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างมีลักษณะเด่นหลายประการ เช่น การที่พระพักตร์มีลักษณะแบบพื้นบ้าน เม็ดพระศกเล็กและมีไรพระศก พระเศียรโตแต่พระอังสาแคบ พระวรกายผอมสูง จีวรเรียบไม่มีริ้ว มีชายผ้าหน้างด้านหน้าตามแบบอิทธิพลอยุธยา แต่ชายจีวรมีการกระดกขึ้นซึ่งลักษณะหลังถือเป็นลักษณะเฉพาะของล้านช้าง

พระพุทธรูปสำริด
เวียงจันทน์
ประติมากรรมพระพุทธรูปสำริด

ในพุทธศตวรรษที่ 22-24 พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างมีลักษณะเด่นหลายประการ เช่น การที่พระพักตร์มีลักษณะแบบพื้นบ้าน เม็ดพระศกเล็กและมีไรพระศก พระเศียรโตแต่พระอังสาแคบ พระวรกายผอมสูง จีวรเรียบไม่มีริ้ว มีชายผ้าหน้านางด้านหน้าตามแบบอิทธิพลอยุธยา แต่ชายจีวรมีการกระดกขึ้นซึ่งลักษณะหลังถือเป็นลักษณะเฉพาะของล้านช้าง ที่น่าสนใจก็คือพระพุทธรูปองค์นี้ที่ปลายจีวรมีการขมวดม้วนเป็นลายก้นหอยซึ่งปรากฏเช่นกันกับพระพุทธรูปปูนปั้นประดับเจดีย์บางองค์ในเมืองเวียงจันทน์

พระพุทธรูปที่วัดมโนรม
หลวงพระบาง
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่วัดมโนรม

พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างช่วงต้น มีความใกล้ชิดกับศิลปะสุโขทัยอย่างมาก เช่น มีพระพักตร์รูปไข่ พระเกศาขมวดใหญ่ มีพระรัศมีเป็นเปลวไฟ พระเนตรเหลือบต่ำ พระอังสาใหญ่ ชายสังฆาฏิเป็นเส้นเล็กยาวลงมาจรดพระนาภี

พระพุทธรูปที่วัดแสน
หลวงพระบาง
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่วัดแสน

พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างระยะหลัง อิทธิพลของศิลปะสุโขทัย ล้านนาได้คลี่คลายเป็นพื้นเมืองล้านช้างมากขึ้น

พระพุทธรูปที่วัดศรีบุญเรือง
หลวงพระบาง
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่วัดศรีบุญเรือง

พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างระยะหลัง อิทธิพลของศิลปะสุโขทัย ล้านนาได้คลี่คลายเป็นพื้นเมืองล้านช้างมากขึ้น รัศมีเป็นเปลวไฟตามแบบสุโขทัยยังคงปรากฏอยู่ แต่เม็ดพระศกกลับเล็กลงและแหลมคม มีไรพระศก เครื่องประกอบพระพักตร์ เช่น พระเนตร มีความเป็นพื้นเมืองมากขึ้น เช่น ดูชี้ขึ้น พระนาสิกใหญ่ ไม่ได้อ่อนหวานเท่าพระพักตร์แบบสุโขทัย

พระพุทธรูปประทับยืนที่ชเวซิกอง
พุกาม
ประติมากรรมพระพุทธรูปประทับยืนที่ชเวซิกอง

พระพุทธรูปลักษณะตามอย่างพระพุทธรูปประทับยืนในศิลปะพุกามโดยทั่วไป กล่าวคือ ครองจีวรห่มคลุม เรียบไม่มีริ้ว มีชายจีวรตงลงมาจากพระหัตถ์ทั้งสองข้างแตกเป็นเขี้ยวตะขาบตามแบบปาละตอนปลาย พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางประทานอภัยในพระหัตถ์ขวาและจับชายจีวรในแนวลงในพระหัตถ์ซ้าย อันเป็นระบบอินเดียเหนือที่พระหัตถ์ทั้งสองมักมีแนวพระหัตถ์ตรงกันข้ามกัน

พระพุทธรูปประทับยืนที่อานันทเจดีย์
พุกาม
ประติมากรรมพระพุทธรูปประทับยืนที่อานันทเจดีย์

พระพุทธรูปลักษณะตามอย่างพระพุทธรูปประทับยืนในศิลปะพุกามโดยทั่วไป กล่าวคือ ครองจีวรห่มคลุม เรียบไม่มีริ้ว มีชายจีวรตงลงมาจากพระหัตถ์ทั้งสองข้างแตกเป็นเขี้ยวตะขาบตามแบบปาละตอนปลาย พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางปฐมเทศนา ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะในศิลปะพุกามที่นำปางปฐมเทศนามาใช้กับพระพุทธรูปประทับยืน