ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จิตรกรรมลายคำประดับผนังด้านนอกสิมวัดเชียงทอง
ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร อย่างไรก็ตาม ที่สิมวัดเชียงทองกลับปรากฏการประดับลายคำภายนอกอาคารซึ่งถือเป็นกรณีที่หายาก
ประติมากรรมเจดีย์จุฬามณี ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง
ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร โดยผนังด้านหน้าวัดเชียงทอง มีการประดับภาพ “เหล่าเทวดากำลังบูชาพระเจดีย์จุฬามณี” อันงดงามมาก
จิตรกรรมทวารบาล ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง
ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร โดยผนังด้านหน้าวัดเชียงทอง มีการประดับภาพ “เหล่าเทวดากำลังบูชาพระเจดีย์จุฬามณี” อันงดงามมาก บริเวณผนังที่ขนาบทางเข้ายังปรากฏภาพ “ทวารบาล” หรือเทวดาผู้รักษาประตูขนาดใหญ่ เทวดาเหล่านี้มักถือดอกโบตั๋นอันสื่อความหมายถึง “การบูชาพระพุทธเจ้า” ผู้ประทับภายในอาคารนั้น ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ในศิลปะจีนที่เข้ามามีบทบาททั้งในศิลปะล้านช้างและล้านนา
จิตรกรรมเทวดา ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง
ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร โดยผนังด้านหน้าวัดเชียงทอง มีการประดับภาพ “เหล่าเทวดากำลังบูชาพระเจดีย์จุฬามณี” อันงดงามมาก
จิตรกรรมจิตรกรรมวัดป่าฮวก
ศิลปะหลวงพระบางช่วงพุทธศตวรรษที่ 24-25 เป็นระยะที่ได้รับอิทธิพลรัตนโกสินทร์อย่างมาก อนึ่ง ต้องไม่ลืมว่า การที่เจ้านายบางพระองค์ในราชวงศ์หลวงพระบางได้เคยเสด็จมาประทับ ณ กรุงเทพจึงอาจทำให้อิทธิพลรัตนโกสินทร์ปรากฏบทบาทอย่างมากในถบนี้ก็ได้
จิตรกรรมจิตรกรรมวัดป่าฮวก
จิตรกรรมที่นี่มีความพิเศษอย่างมากเนื่องจากมีการวาดภาพ “คนจีน” แทรกลงไปในจิตรกรรมไทยประเพณี ซึ่งลักษณะเช่นนี้แตกต่างไปจากจิตรกรรมที่กรุงเทพ คนจีนเหล่านี้มีทั้งบุรุษและสตรี โดยการแต่งตัวแสดงให้เห็นเอกลักษณ์ชนชาติอย่างชัดเจน อนึ่ง ต้องไม่ลืมว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการติดต่ออย่างมากระหว่างจีนกับรัตนโกสินทร์ ซึงอิทธิพลดังกล่าวอาจเลยมาถึงหลวงพระบางเช่นกัน
จิตรกรรมจิตรกรรมวัดป่าฮวก
แม้ว่ารูปแบบของจิตรกรรมที่นี่แสดงความพยายามในการเลียนแบบศิลปะรัตนโกสินทร์อย่างมาก เช่น การวาดภาพปราสาทและเครื่องแต่งกายบุคคลเป็นต้น แต่การใช้สีของจิตรกรรมที่นี่กลับแปลกออกไปกว่าศิลปะรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะการเน้นสีส้ม
จิตรกรรมทวารบาลแบบจีน สิมวัดล่องคูณ
เนื่องจากศิลปะหลวงพระบางช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 เป็นระยะที่ได้รับอิทธิพลรัตนโกสินทร์อย่างมาก ทำให้รูปทวารบาลแบบจีนตามพระราชนิยมในรัชกาลที่สามได้เข้ามาปรากฏในแถบนี้บางวัด เช่น วัดล่องคูณเมืองหลวงพระบาง เป็นต้น อนึ่ง ต้องไม่ลืมว่า การที่เจ้านายบางพระองค์ในราชวงศ์หลวงพระบางได้เคยเสด็จมาประทับ ณ กรุงเทพจึงอาจทำให้อิทธิพลรัตนโกสินทร์ปรากฏบทบาทอย่างมากในแถบนี้ก็ได้