ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 289 ถึง 296 จาก 354 รายการ, 45 หน้า
ภาพวาดจำลองเจดีย์จอกตอจี
อมรปุระ
ประติมากรรมภาพวาดจำลองเจดีย์จอกตอจี

ในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล หรือสมัยคองบองตอนปลาย ปรากฏแนวความคิดเรื่องสัจนิยมมากขึ้นเนื่องด้วยอิทธิพลตะวันตก ด้วยเหตุนี้ จิตรกรรมการเขียนจำลองภาพเจดีย์จอกตอจีเองจึงถูกเขียนขึ้นเพื่อบ่งบอกว่าเป็นภาพเมืองอมรปุระเอง นอกจากนี้การเขียนแสงเงาอย่างสมจริง รวมถึงทิวทัศน์ด้านหลังที่มีระยะใกล้-ไกลตามหลักทัศนียวิทยา ก็แสดงการเปลี่ยนแปลงในด้านความคิดของจิตรกรในระยะนี้เช่นกัน

ภาพวาดจำลองเจดีย์
อมรปุระ
จิตรกรรมภาพวาดจำลองเจดีย์

ในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล หรือสมัยคองบองตอนปลาย ปรากฏแนวความคิดเรื่องสัจนิยมมากขึ้นเนื่องด้วยอิทธิพลตะวันตก ด้วยเหตุนี้ จิตรกรรมการเขียนจำลองภาพเจดีย์ซึ่งมีจริงจึงถูกเขียนขึ้นเพื่อบ่งบอกว่าเป็นภาพวาดของเมืองใดเมืองหนึ่ง นอกจากนี้การเขียนแสงเงาอย่างสมจริง รวมถึงทิวทัศน์ด้านหลังที่มีระยะใกล้-ไกลตามหลักทัศนียวิทยา ก็แสดงการเปลี่ยนแปลงในด้านความคิดของจิตรกรในระยะนี้เช่นกัน

พระพุทธบาทบนเพดาน
อมรปุระ
จิตรกรรมพระพุทธบาทบนเพดาน

ลักษณะทางศิลปกรรมดูเหมือนว่าจิตรกรที่เจดีย์จอกตอจีมีความคิดที่ก้าวหน้าในการเขียนภาพจักรวาลวิทยาตามแบบสมัยใหม่ โดยการจัดดาวต่างๆเป็นหมู่ดาวตามแบบสมัยใหม่ มีการวาดภาพเพื่อให้สามารถจินตนาการได้ง่ายว่าหมู่ดาวต่างๆคือหมู่ดาวอะไร และมีการเขียนชื่อกำกับไว้ด้วย การวาดหมู่ด้าวไว้ที่เจดีย์จอกตอจี อาจเพื่อให้เจดีย์องค์นี้กลายเป็นศูนย์กลางจักรวาลอย่างแท้จริง

พระพุทธบาทบนเพดาน
อมรปุระ
จิตรกรรมพระพุทธบาทบนเพดาน

ดูเหมือนว่าจิตรกรที่เจดีย์จอกตอจีมีความคิดที่ก้าวหน้าในการเขียนภาพจักรวาลวิทยาตามแบบสมัยใหม่ โดยการจัดดาวต่างๆเป็นหมู่ดาวตามแบบสมัยใหม่ มีการวาดภาพเพื่อให้สามารถจินตนาการได้ง่ายว่าหมู่ดาวต่างๆคือหมู่ดาวอะไร และมีการเขียนชื่อกำกับไว้ด้วย การวาดหมู่ด้าวไว้ที่เจดีย์จอกตอจี อาจเพื่อให้เจดีย์องค์นี้กลายเป็นศูนย์กลางจักรวาลอย่างแท้จริง

เทวดาด้านบนเพดาน
อมรปุระ
จิตรกรรมเทวดาด้านบนเพดาน

จิตรกรรมของจอกตอจีมีประเด็นอิทธิพลไทยอย่างชัดเจนในหลายเครื่อง โดยเฉพาะการเขียนภาพเทวดาแบบไทยและหน้ายักษ์ตามแบบไทยซึ่งแสดงการเขียนมงกุฎ กรรเจียกและพรายโอษฐ์ตามแบบหัวโขนไทยอย่างชัดเจน ทั้งนี้ เป็นไปได้ที่จิตรกรรมดังกล่าวอาจวาดขึ้นโดยช่างผู้เป็นลูกหลานของชาวสยามที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

หน้ายักษ์ด้านบนเพดาน
อมรปุระ
จิตรกรรมหน้ายักษ์ด้านบนเพดาน

จิตรกรรมของจอกตอจีมีประเด็นอิทธิพลไทยอย่างชัดเจนในหลายเครื่อง โดยเฉพาะการเขียนภาพเทวดาแบบไทยและหน้ายักษ์ตามแบบไทยซึ่งแสดงการเขียนพรายโอษฐ์ตามแบบหัวโขนไทยอย่างชัดเจน ทั้งนี้ เป็นไปได้ที่จิตรกรรมดังกล่าวอาจวาดขึ้นโดยช่างผู้เป็นลูกหลานของชาวสยามที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

ภาพบุคคลเหาะ
อมรปุระ
จิตรกรรมภาพบุคคลเหาะ

เนื่องด้วยอิทธิพลตะวันตก จิตรกรรมที่เจดีย์จอกตอจีจึงแสดงภาพเทวดา/ฤๅษีเหาะปะปนกับคิวปิด (cupid) ตามแบบตะวันตก ดอกไม้และลวดลายพันธุ์พฤกษาเองก็ประกอบไปด้วยใบอะแคนธัสตามแบบตะวันตกเช่นกัน รวมถึงทัศนียวิทยาของภูเขาที่เป็นฉากหลังก็แสดงความเกี่ยวข้องกับศิลปะตะวันตกอย่างมาก

ต้นไม้กระจกประดับสีด้านหลังสิมวัดเชียงทอง
หลวงพระบาง
ประติมากรรมต้นไม้กระจกประดับสีด้านหลังสิมวัดเชียงทอง

การประดับกระจกบนผนัง ดูเหมือนว่าจะเป้นความนิยมในการตกแต่งผนัง “ภายนอกอาคาร” ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งแบบนี้ปรากฏกับอาคารหลายหลังที่วัดเชียงทอง อนึ่ง กระจกนอกจากให้ความแวววาวเมื่อต้องแสงแดดแล้ว ยังคงทนต่อสภาพอากาศกว่าการเขียนจิตรกรรมหรือลายคำอีกด้วย ด้วยเหตุนี้เทคนิคดังกล่าวจึงมักใช้กับการตกแต่งภายนอกอาคาร