ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สถาปัตยกรรมสิมวัดปากคาน
สิมวัดปากคาน ถือเป็นตัวอย่างของสิมแบบไทยลื้อที่ดีที่สุดในเมืองหลวงพระบาง ลักษณะของสิมแบบไทยลื้อก็คือ เป็นอาคารที่มีคอสองกว้าง และมีความสูงของหลังคาทางด้านหน้าและด้านยาวเท่ากัน สิมแบบไทยลื้อปรากฏความนิยมอยู่ที่แคว้นสิบสองปันนา ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางตอนใต้ของมณฑลยุนนานของจีน การปรากฏสิมแบบไทยลื้อที่เมืองพลวงพระบาง แสดงให้เห็นการอพยพเคลื่อนย้ายของคนไทยลื้อจากสิบสองปันนาลงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองหลสวงพระบางแห่งนี้

สถาปัตยกรรมสิมวัดใหม่
สิมวัดใหม่ มีลักษณะของการซ้อนชั้นหลังคาที่โดดเด่น อาคารอยู่ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เกือบจะคล้ายกับสี่เหลี่ยมจัตุรัส หลังคาชั้นบนสุดซ้อนแบบ “ลอย” อยู่บนหลังคาหลัก ถัดลงมาเป็นหลังคาปีกนกที่ครอบคลุมพาไลต่อเนื่องลงมาหลายชั้น แต่ละชั้นมีคอสองสูง ด้านหน้ายังปรากฏ “หอขวาง” ซึ่งถือเป็นลักษณะที่โดดเด่นสำหรับสิมแห่งนี้

สถาปัตยกรรมพระราชวังเมืองหลวงพระบาง
พระราชวังเมืองหลวงพระบาง เป็นอาคารแบบตะวันตกในผังแบบพัลลาเดียม มีหน้าบันและลายปูนปั้นแบบตะวันตก สร้างขึ้นภายใต้สมัยอาณานิคมฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม มีความพยายามในการสร้างยอดมหาปราสาทตามอิทธิพลรัตนโกสินทร์ซึ่งทำให้อาคารหลังนี้ดูคล้ายกับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในกรุงเทพพอสมควร หน้าบันที่เป็นรูปช้างเอราวัณนั้น เป็นตราแผ่นดินในสมัยพระราชอาณาจักรลาว โดยรอบช้างปรากฏนาคด้านละ 7 ตัวซึ่งอาจเชื่อมโยงได้กับชื่อเดิมของอาณาจักรล้านช้างซึ่งเรียกว่า “ศรีสัตนาคนหุต” อันแปลว่านครแห่งนาค 7 ตัว

จิตรกรรมพุทธประวัติ จิตรกรรมในเจดีย์ปาโททัมยา
จิตรกรรมใช้สีโทนร้อน เช่น สีแดง สีเหลือง สีดำ ตามอย่างศิลปะปาละ เครื่องแต่งกายของบุคคลในจิตรกรรมเองก็เกี่ยวข้องกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น การทรงเทริดขนนกของกษัตริย์ อย่างไรก็ตาม ลักษณะพื้นเมืองพุกามได้ปรากฏปะปนด้วย เช่น การทรงผ้าคลุมที่มีลวดลายเต็มของกษัตริย์ รวมถึงรูปแบบอาคารที่ดูเหมือนปยาทาด เป็นต้น

จิตรกรรมพุทธประวัติ 8 ตอน จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
เจดีย์โลกาเทียกพัน เป็นเจดีย์ขนาดเล็กไม่ไกลจากเจดีย์ชเวซานดอมากนัก ไม่มีประวัติว่าผู้ใดสร้างหรือสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากรูปแบบสถาปัตยกรรมแล้ว คอนข้างแน่ชัดว่าเจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นในสมัยพุกามตอนกลาง ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 17

จิตรกรรมส่วนหนึ่งจากพุทธประวัติ 8 ตอน จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
ภาพเล่าเรื่องดังกล่าวแสดงรูปแบบตามแบบปาละอย่างมาก เช่น การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก ฯลฯ ทั้งหมดนี้คล้ายคลึงกับภาพวาดในคัมภีร์ใบลานซึ่งพบทั้งในอินเดียตะวันออกและในพม่าด้วย

จิตรกรรมส่วนหนึ่งจากพุทธประวัติ 8 ตอน จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
ภาพเล่าเรื่องดังกล่าวแสดงรูปแบบตามแบบปาละอย่างมาก เช่น การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก ฯลฯ ทั้งหมดนี้คล้ายคลึงกับภาพวาดในคัมภีร์ใบลานซึ่งพบทั้งในอินเดียตะวันออกและในพม่าด้วย

จิตรกรรมเขาพระสุเมรุ จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
ภาพเล่าเรื่องดังกล่าวแสดงรูปแบบตามแบบปาละอย่างมาก เช่น การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก ฯลฯ