ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมธาตุพูสี
เจดีย์องค์นี้มีลักษณะเป็นเจดีย์ที่ใช้ “บัวเหลี่ยม” เป็นส่วนสำคัญตามแบบล้านช้าง อย่างไรก็ดี ฐานที่เป็นฐานบัวท้องไม้กว้างกลับมีความสัมพันธ์กับเจดีย์กลุ่มอิทธิพลล้านนามากกว่า ดังที่ปรากฏที่วัดอาไพและวัดหมื่นนาในเมืองหลวงพระบางเช่นกัน เจดีย์องค์ในผังสี่เหลี่ยมลบมุม ซึ่งถือเป็นแผนผังที่นิยมสำหรับธาตุในศิลปะล้านช้าง
สถาปัตยกรรมธาตุวัดสบ
เจดีย์องค์นี้ได้รับอิทธิพลเจดีย์ทรงเครื่องในศิลปะรัตนโกสินทร์เป็นอย่างมาก โยเฉพาะองค์ระฆังในผังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมไม้ 12 และบัวคลุ่มเถา อย่างไรก็ตาม เจดีย์องค์นี้กลับเป็นการสร้างรูปแบบใหม่ โยการกำหนดให้เจดีย์ทรงเครื่องแบบรัตนโกสินทร์กลายเป็นยอดของเจดีย์ทรงปราสาท ซึ่งมีเรือนธาตุและมีฐานที่ไม่เหมือนทีเดียวกับเจดีย์ในกรุงเทพ
สถาปัตยกรรมธาตุวัดอาไพ
เจดีย์องค์นี้ได้รับอิทธิพลเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะล้านนาอย่างมาก ทั้งฐานบัวที่อยู่ในผัง สี่เหลี่ยมเพิ่มมุมและมีท้องไม้กว้าง ชุดฐานรองรับองค์ระฆังในผังกลมที่ปรับเปลี่ยนมาจากบัวถลาในศิลปะล้านนา ละองค์ระฆังกลมขนาดเล็ก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เจดีย์องค์นี้คงไม่ได้สร้างขึ้นร่วมสมัยราชวงศ์มังราย แต่คงสร้างขึ้นในภายหลัง คือราวพุทธศตวรรษที่ 24 เนื่องจากเจดีย์มีขนาดเล็กและมีลวดบัวที่ปรับเปลี่ยนไปจากศิลปะล้านนามาก
จิตรกรรมภาพวาดจำลองเจดีย์
ในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล หรือสมัยคองบองตอนปลาย ปรากฏแนวความคิดเรื่องสัจนิยมมากขึ้นเนื่องด้วยอิทธิพลตะวันตก ด้วยเหตุนี้ จิตรกรรมการเขียนจำลองภาพเจดีย์ซึ่งมีจริงจึงถูกเขียนขึ้นเพื่อบ่งบอกว่าเป็นภาพวาดของเมืองใดเมืองหนึ่ง นอกจากนี้การเขียนแสงเงาอย่างสมจริง รวมถึงทิวทัศน์ด้านหลังที่มีระยะใกล้-ไกลตามหลักทัศนียวิทยา ก็แสดงการเปลี่ยนแปลงในด้านความคิดของจิตรกรในระยะนี้เช่นกัน
สถาปัตยกรรมธาตุ วัดอินแปง
ธาตุวัดอินแปง เป็นธาตุในผังแปดเหลี่ยม โดยมีส่วนสำคัญอยู่ในทรงดอกบัวเหลี่ยมซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะล้านช้าง ฐานเป็นฐานบัวเข่าพรหมในรูปของ “ขาสิงห์” ซึ่งแสดงความสัมพันธ์กับฐานสิงห์ในศิลปะอยุธยาตอนกลางและคล้ายคลึงอย่างมากกับส่วนเดียวกันของธาตุที่วัดองค์ตื้อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย
สถาปัตยกรรมธาตุ วัดนาคใหญ่
เจดีย์วัดนาคใหญ่ ถือเป็นธาตุทรงปราสาทที่งดงามที่สุดในเขตเมืองเวียงจันทน์ มีความคล้ายคลึงกับศิลปะล้านนาอย่างมาก เรือนธาตุที่เพิ่มมุมไม้ 20 ปรากฏซุ้มทั้งสี่ทิศประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน เหนือเรือนธาตุปรากฏชั้นหลังคารองรับองค์ระฆังในผังเพิ่มมุมไม้ 12 และยอดทรงบัวเหลี่ยม อนึ่ง ธาตุทรงปราสาทองค์นี้อาจสร้างขึ้นในระหว่างรัชกาลพระเจ้าไชยเชษฐาถึงรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิการาชซึ่งเป็นระยะที่ศิลปะล้านช้างยังคงแสดงความใกล้ชิดกับศิลปะล้านนาและอยุธยาอยู่