ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จิตรกรรมเทวดา ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง
ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร โดยผนังด้านหน้าวัดเชียงทอง มีการประดับภาพ “เหล่าเทวดากำลังบูชาพระเจดีย์จุฬามณี” อันงดงามมาก
จิตรกรรมทวารบาลแบบจีน สิมวัดล่องคูณ
เนื่องจากศิลปะหลวงพระบางช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 เป็นระยะที่ได้รับอิทธิพลรัตนโกสินทร์อย่างมาก ทำให้รูปทวารบาลแบบจีนตามพระราชนิยมในรัชกาลที่สามได้เข้ามาปรากฏในแถบนี้บางวัด เช่น วัดล่องคูณเมืองหลวงพระบาง เป็นต้น อนึ่ง ต้องไม่ลืมว่า การที่เจ้านายบางพระองค์ในราชวงศ์หลวงพระบางได้เคยเสด็จมาประทับ ณ กรุงเทพจึงอาจทำให้อิทธิพลรัตนโกสินทร์ปรากฏบทบาทอย่างมากในแถบนี้ก็ได้
จิตรกรรมจิตรกรรมบนหน้าบัน สิมวัดหาดเสี้ยว
อิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่น การวาดท้องฟ้าสีฟ้าและทัศนียวิทยาตามแบบความเป็นจริงซึ่งแสดงให้เห็นการเข้ามาของอิทธิพลตะวันตก จิตรกรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัย รัชกาลที่ 4-5
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่องนรสิงห์
หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องเป็นรูปนรสิงห์แหวกอกอสูร
ประติมากรรมบานประตูของสิมวัดองค์ตื้อ
ในรัชกาลสมเด็จเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ได้เกิดสกุลช่างไม้สลักขึ้นในหลวงพระบาง โดยสกุลช่างดังกล่าวนิยมสลักภาพเทวดาทับลงไปบนลายพันธุ์พฤกษาที่เป็นก้านขดอกดอกโบตั๋น ตัวอย่างของภาพสลักในสกุลช่างนี้ยังสามารถเห็นได้อีกที่ประตูของสิมวัดวิชุลเมืองหลวงพระบาง
สถาปัตยกรรมสิม วัดสีสะเกด
สิมวัดสีสะเกด เป็นสิมแบบเวียงจันทน์ที่มีหลังคาด้านข้างยกสูง แตกต่างไปจากหลังคาที่เตี้ยเลียบพื้นตามแบบหลวงพระบางและเชียงขวาง โดยรอบปรากฏพาไลซึ่งคล้ายคลึงอย่างมากกับอุโบสถในศิลปะรัตนโกสินทร์หลายแห่ง ซุ้มประตูและหน้าต่างเองก็เป็นทรงมณฑปซึ่งคล้ายคลึงกับอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพ อย่างไรก็ตาม การซ้นชั้นของหลังคาที่ชั้นเชิงตามแบบล้านช้าง กระเบื้องที่ไม่เคลือบสีและการปรากฏ “ช่อฟ้า” หรือปราสาทยอดที่กึ่งกลางสันหลังคาล้วนแต่เป็นเอกลักษณ์ตามแบบล้านช้างเอง