ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมพระอวโลกิเตศวร
ประติมากรรมพระอวโลกิเตศวร พระเศียรหักหายไป เปลือยกายท่อนบน พระวรกายหนา สวมเครื่องทรง ได้แก่ กรองศอเป็นลักษณะเป็นสร้อยคอแผงมีอุบะพู่ห้อยโดยรอบ นุ่งผ้านุ่งสั้นเหมือนผ้านุ่งชั้นในอัตพลีต มีชายผ้าหางปลาตกลงมาตรงกลางชายเดียว เป็นรูปแบบของศิลปะบายน รายล้อมไปด้วยเหล่าเทวดาและพระโพธิสัตว์
ประติมากรรมท่อน้ำ สลักรูปเศียรมนุษย์
ประติมากรรมรูปเศียรมนุษย์นั้น ปรากฏอยู่ซุ้มทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทนาคพัน เป็นรูปเศียรบุคคล สวมกระบังหน้ายอดมงกุฏทรงกรวย อยู่ในท่าอ้าพระโอษฐ์ซึ่งเป็นส่วนของท่อน้ำ
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพพุทธประวัติตอนทรมานช้างนาราคีรี
หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนทรมานช้างนาราคีรี
ประติมากรรมนางอัปสร
ประติมากรรมทวารบาลสตรี เกล้ามวยผมไปด้านหลัง เปลือยกายท่อนบน ไม่สวมเสื้อ สวมเครื่องประดับ นุ่งผ้านุ่งยาวเรียบไม่มีริ้ว มีการชักชายผ้าออกมาตรงขอบผ้านุ่ง รวมถึงปรากฏเส้นริ้วตรงกลางผ้านุ่งลักษณะคล้ายกับจีบหน้านางในสมัยก่อนเมืองพระนคร แต่มีลักษณะลายแบบชายผ้าหางปลา ทวารบาลอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว เป็นซุ้มคดโค้งตามแบบศิลปะบันทายศรี