ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมซุ้มของปราสาทเขื่องหมี
ด้านหน้าของปราสาทเขื่องหมีปรากฏมุขมณฑปซึ่งด้านข้างปรากฏซุ้มจระนำแบบดงเดือง เป็นซุ้มแคบๆที่มีพุ่มข้าวบิณฑ์ด้านบนและเป็นซุ้มที่มีปีกนกต่อเนื่องลงมาหลายตอน ภายในซุ้มบรรจุลายขนมจีนแบบพื้นเมืองจนเต็มพื้นที่ ซึ่งทั้งหมดนี้แสดงถึงซุ้มแบบดงเดืองซึ่งคล้ายคลึงกัปบราสาทดงเดืองเช่นกัน จากลักษณะของซุ้มทำให้กำหนดอายุได้ว่าอยู่ในสมัยดงเดือง แต่เสาติดผนังกลับแสดงลักษณะของมิเซิน A1แล้ว
สถาปัตยกรรมเสาติดผนังของปราสาทเขื่องหมี
ผนังของปราสาทเขื่องหมีปรากฏมีการประดับด้วยเสาติดผนังจำนวน 5 ต้น ซึ่งเห็นได้เพียงสี่ต้นเนื่องจากซุ้มจระนำตรงกลางมักบดบังเสาต้นกลางเสมอๆ เสาแต่ละต้นประดับด้วยลวดลายก้านขดออกกนก ซึ่งเป็นลวดลายที่นิยมมากในสมัยมิเซิน A1 การที่ร่องเสาตรงกลางทะลุเลยขึ้นไปถึงบัวหัวเสาก็นิยมในสมัยนี้เช่นเดียวกัน จากสาติดผนังกลับแสดงลักษณะของมิเซิน A1 แต่ลักษณะของซุ้มกลับแสดงถึงศิลปะแบบดงเดืองซึ่งเก่ากว่า
สถาปัตยกรรมภูเขาที่ตั้งของปราสาทบาญอิ๊ด
การสถาปนาปราสาทบนยอดเนินเขานั้น ถือเป็นความนิยมในสมัยบิญดิ่ญ ซึ่งปรากฏทั้งปราสาทบาญอิ๊ต ปราสาทเฝือกล็อก เป็นต้น ทั้งหมดนี้ นอกจากนี้ จากรูปแบบสถาปัตยกรรมทำให้ทราบว่ามีอายุอยู่ในสมัยบิญดิ่นตอนต้น
สถาปัตยกรรมปราสาทบาญอิ๊ด
ปราสาทแห่งนี้ประกอบไปด้วยอาคาร 4 หลัง คือ ปราสาทประธาน บรรณาลับ หอจารึก (?) และโคปุระ ซึ่งกลุ่มอาคารดังกล่าวคล้ายคลึงกับการจัดกลุ่มอาคารของปราสาทมิเซินในศิลปะมิเซิน A1 อย่างไรก็ตาม ปราสาทแห่งนี้มีการจัดวางอาคารอย่างซับซ้อน เช่น ให้ปราสาทประธานและบรรณาลัยอยู่ด้านบนสุด ส่วนอาคารหอจารึกและโคปุระกลับอยู่ด้านล่างลงมา
สถาปัตยกรรมซุ้มของปราสาทบาญอิ๊ด
ปราสาทประธานประดับด้วยซุ้มทรงใบหอก มีการสลักลวดลายบนอิฐจนเต็ม ด้านบนสุดปรากฏหน้ากาล ซุ้มทรงใบหอกนี้แสดงรูปแบบซุ้มในศิลปะบิญดิ่นแล้ว อย่างไรก็ตราม การสลักลวดลายจนเต็มพื้นที่นั้นเป็นลักษณะพิเศษของซุ้มที่นี่ การปรากฏหน้ากาลด้านบนยังแสดงให้เห็นร่องรอยอิทธิพลชวาที่ส่งผ่านจากศิลปะมิเซิน A1 มาสู่ศิลปะบิญดิ่น
สถาปัตยกรรมบรรณาลัย (?) ปราสาทบาญอิ๊ด
ด้านข้างปราสาทประธานเป็นที่ตั้งของอาคารในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งมีหลังคาทรงประทุน อาคารดังกล่าวนี้ตรงกับ “บรรณาลัย” ในศิลปะขอม โดยลักษณะพิเศษของอาคารหลังนี้ก็คือ การสลักลวดลายตกแต่งทั้งฐาน เรือนธาตุและซุ้มหน้านาง อาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งมีหลังคาทรงประทุนในลักษณะเช่นนี้ ปรากฏทั้งในศิลปะมิเซิน A1 และบิญดิ่น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปราสาทประธานสามารถกำหนดอายุได้ในศิลปะบิญดิ่น ด้วยเหตุนี้อาคารหลังนี้จึงควรมีอายุเดียวกันกับปราสาทประธาน
สถาปัตยกรรมฐานของบรรณาลัยปราสาทบาญอิ๊ด
ด้านข้างปราสาทประธานเป็นที่ตั้งของอาคารในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งมีหลังคาทรงประทุน อาคารดังกล่าวนี้ตรงกับ “บรรณาลัย” ในศิลปะขอม โดยลักษณะพิเศษของอาคารหลังนี้ก็คือ การสลักลวดลายตกแต่งทั้งฐาน เรือนธาตุและซุ้มหน้านาง ฐานของปราสาทหลังนี้ปรากฏ “สัตว์แบก” จำนวนมาก เช่น ครุฑแบบ สิงห์แบก ซึ่งทำให้นึกถึงประติมากรรมครุฑจากปราสาทถาปมาม (ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ดานัง) สัตว์แบกเหล่านี้เป้นรท่นิยมอย่างมากในศิลปะบิญดิ่น
สถาปัตยกรรมปราสาทแก๋งเตียน
เป็นปราสาทที่มีเสาติดผนังห้าต้น โดยเสาไม่มีร่องและไม่มีลวดลายประดับใดๆ ยกเว้นเสาต้นข้างที่ตกแต่งด้วยหิน อันแสดงอิทธิพลบายน ยอดปราสาทเป็นชั้นวิมานตามแบบจามแท้ อย่างไรก็ตาที่มุมมีการประดับด้วยปราสาทจำลองซึ่งเป็นพุ่มคล้ายถะจีน ปราสาทจำลองที่เป็นพุ่มนี้ปรากฏเช่นกันกับเทวาลัยในระยะเดียวกัน เช่นปราสาททูเทียน เป็นต้น จากเสาติดผนังห้าต้นที่ไม่มีลายประดับ การประดับหินตามอิทธิพลบายน และรูปแบบปราสาทมุมที่เป็นพุ่ม ทำให้กำหนดอายุได้ว่าอยู่ในศิลปะบิญดิ่นตอนปลาย