ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 2 จาก 2 รายการ, 1 หน้า
น้ำเงินเขียว
กรุงเทพมหานคร
จิตรกรรมน้ำเงินเขียว

เป็นภาพผู้หญิงเปลือยที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะคิวบิสม์ (Cubism) อันมีลักษณะการวิเคราะห์โครงสร้างของรูปทรงที่คมคาย ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์เดินทางไปศึกษาต่อที่อิตาลี เมื่อ พ.ศ.2497 และเกิดความคิดริเริ่มในการเขียนภาพเปลือย (nude) อาจารย์เฟื้ออธิบายเพิ่มเติมว่า "ให้กรรมวิธีที่มันสะเทือนเลยเบี่ยงเข้าหาจุดที่แสงสว่างจัด เงาจัด รูปคนสักแต่ว่ารูป ไม่ดูว่าเป็นคน คนแค่อาศัยดูว่าเส้นสี อะไรแดงๆ เลย อะไรเหลืองๆ เลย อะไรโค้งได้โค้งเลย กำหนดแสงสว่างเงาอ่อนแก่ จัดรูปโดยแยกไปจากรูปอีกที"

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

พระบรมรูปมีขนาดสองเท่าครึ่งของพระองค์จริง ทรงม้าพระที่นั่งออกศึก ทรงเครื่องกษัตริย์และสวมพระมาลา พระหัตถ์ขวาเงื้อพระแสงดาบในท่านำพล พระหัตถ์ซ้ายทรงกุมบังเหียน ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ทางจังหวัดจันทบุรี ประดิษฐานบนแท่น ทั้งสองด้านประดับด้วยประติมากรรมนูนสูงเล่าเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ด้านละ 2 กรอบ รวม 4 กรอบ เล่าเหตุการณ์ 4 เหตุการณ์ได้แก่ ภาพประชาชนหมดหวังเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่า ภาพพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเกลี้ยกล่อมประชาชนให้ร่วมกันกู้อิสรภาพ ภาพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีออกรบและได้รับชัยชนะทุกครั้ง และภาพความผาสุกของประชาชนหลังจากกู้เอกราชได้แล้ว ด้านหน้ามีแผ่นจารึกดวงฤกษ์และข้อความเทิดพระเกียรติ