ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 5 จาก 5 รายการ, 1 หน้า
ฐานเป็นชั้นที่ปราสาทเกาะแกร์
เกาะแกร์
สถาปัตยกรรมฐานเป็นชั้นที่ปราสาทเกาะแกร์

ปราสาทแห่งนี้ถือเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นที่สูงและสง่างามที่สุดในศิลปะขอม เนื่องจากมีฐานซ้อนกันขึ้นไปถึง 7 ชั้น ด้านบนคงเคยประดิษฐานปราสาทประธาน 1 หลัง อนึ่ง ปราสาทบนฐานเป็นชั้นในศิลปะเกาะแกร์สามารถศึกษาเปรียบเทียบได้กับปราสาทปักษีจำกรงที่เมืองพระนครอีกหลังหนึ่ง

อาคารยาวมีหน้าจั่วสามเหลี่ยม ปราสาทเกาะแกร์
เกาะแกร์
สถาปัตยกรรมอาคารยาวมีหน้าจั่วสามเหลี่ยม ปราสาทเกาะแกร์

อาคารยาวๆของปราสาทเกาะแกร์ สร้างด้วยหินทั้งหลังแต่คงเคยมีหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้าประกอบด้วยหน้าจั่วสามเหลี่ยมซึ่งเลียนแบบมาจากอาคารเครื่องไม้ ที่น่าสนใจก็คือ ที่ปลายหน้าจั่วมีลายตกแต่งเป็นรูปขมวดม้วน ซึ่งอาจกลายมาจากงวงของมกรก็ได้ หน้าจั่วเช่นนี้จะปรากฏอีกกับปราสาทในศิลปะบันทายสรีและบาปวนบางหลัง เช่นปราสาทบันทายสรี ปราสาทพระวิหาร เป็นต้น อนึ่ง น่าสังเกต “รู” ที่หน้าบันซึ่งเคยเป็นเต้ารับแปของเครื่องไม้ซึ่งได้หายไปหมดสิ้นแล้ว

ปราสาทแปรรูป
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทแปรรูป

ปราสาทแปรรูป เป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นที่มีปราสาทยอดสร้างด้วยอิฐเช่นเดียวกับปราสาทอื่นๆในศิลปะสมัยพระนครตอนต้น อย่างไรก็ตาม พัฒนาการใหม่ที่สามารถสังเกตได้ก็คือ ปราสาทประธานได้เพิ่มจำนวนเป็นห้าหลังเป็นครั้งแรกและปราสาทเริ่มปรากฏ “อาคารยาวๆ” โดยรอบซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับระเบียงคดในระยะต่อมา อาคารยาวๆเหล่านี้คงใช้เป็นที่เก็บของหรือเป็นที่พัก ด้านหน้าปราสาทปรากฏแท่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งคงเป็นที่ประดิษฐานโคนนทิมาก่อน ปัจจุบันสูญหายไปแล้ว

อาคารยาวที่ปราสาทแปรรูป
อังกอร์
สถาปัตยกรรมอาคารยาวที่ปราสาทแปรรูป

ปราสาทแปรรูป เป็นครั้งแรกที่เริ่มปรากฏ “อาคารยาวๆ” โดยรอบซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับระเบียงคดในระยะต่อมา อาคารยาวๆเหล่านี้คงใช้เป็นที่เก็บของหรือเป็นที่พัก อนึ่ง น่าสังเกตว่าอาคารยาวๆเหล่านี้ยังไม่ได้เชื่อมต่อกันจนกลายเป็นระเบียงคด การเชื่อต่อกันนั้นจะปรากฏเป็นครั้งแรกที่ปราสาทตาแก้ว

ฐานเป็นชั้นของปราสาทแม่บุญตะวันออก
อังกอร์
สถาปัตยกรรมฐานเป็นชั้นของปราสาทแม่บุญตะวันออก

ปราสาทแม่บุญตะวันออก ตั้งอยู่กลางบารายตะวันออกด้วยเหตุนี้ ฐานเป็นชั้นท่รองรับปราสาทก็คือ “ฐานของเกาะกลางบาราย” นั่นเองฐานนี้ก่อด้วยศิลาแลงซึงเป็นวัสดุที่แข็งเหมาะสำหรับการทำเป็นฐานรองรับปราสาทแต่ไม่เหมาะสำหรับการสลักลวดลาย ที่มุมของฐานมีประติมากรรมช้างอยู่ทั้งสี่ทิศ ฐานเป็นชั้นของปราสาทแม่บุญตะวันออกนี้ปัจจุบันตั้งอยู่บนพื้นดินที่แห้งขอด เนื่องจากบารายตะวันออกไม่ได้คงสภาพเป็นทะเลสาบอีกต่อไปแล้ว