ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 81 ถึง 87 จาก 87 รายการ, 11 หน้า
จิตรกรรมเรื่องพระเตมีย์
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมเรื่องพระเตมีย์

อิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่นการวาดภาพปราสาทราชวังและตัวละคร รวมถึง การวาดท้องฟ้าสีฟ้าและทัศนียวิทยาตามแบบความเป็นจริงซึ่งแสดงให้เห็นการเข้ามาของอิทธิพลตะวันตก จิตรกรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัย รัชกาลที่ 4-5

จิตรกรรมเรื่องอิเหนา (?)
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมเรื่องอิเหนา (?)

ศิลปกรรม อิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่น การวาดภาพปราสาทราชวังและตัวละคร จิตรกรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ 4-5

จิตรกรรมเรื่องออกมหาภิเนษกรมณ์และมารวิชัย
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมเรื่องออกมหาภิเนษกรมณ์และมารวิชัย

อิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่น การวาดภาพปราสาทราชวังและตัวละคร รวมถึง การวาดท้องฟ้าสีฟ้าและทัศนียวิทยาตามแบบความเป็นจริงซึ่งแสดงให้เห็นการเข้ามาของอิทธิพลตะวันตก จิตรกรรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัย รัชกาลที่ 4-5

ภาพเขียนเพดาน โบสถ์ซานออกุสติน
มะนิลา
จิตรกรรมภาพเขียนเพดาน โบสถ์ซานออกุสติน

จิตรกรรมบนเพดานภายในโบสถ์ซานออกุสติน มะนิลา ซึ่งจากภาพนี้จะเห็นจิตรกรรมภาพลวงตา (Trompe l’oeil)ได้อย่างชัดเจน จิตรกรรมนี้วาดขึ้นโดยจิตรกรชาวอิตาเลี่ยนจำนวนสองคนใน ค.ศ.1875 อนึ่ง จิตรกรมแบบลวงตานี้ปรากฏมาก่อนแล้วในยุโรปตั้งแต่สมัยเรอเนสซองส์หรือบาโรค โดยมีทั้งแบบที่วาดเป็นท้องฟ้าให้เกิดความเวิ้งว้างสุดลูกตา หรือเป็นการลวงตาโดยใช้สถาปัตยกรรมเป็นเส้นนำสายตาให้ดูสูงขึ้นลึกเข้าไปในเพดานที่ไม่ได้สูงจริง

หน้าต่างประดับกระจกสี  โบสถ์ซานเซบาสเตียน
มะนิลา
จิตรกรรมหน้าต่างประดับกระจกสี โบสถ์ซานเซบาสเตียน

ภายในโบสถ์ซานเซบาสเตียน มะนิลาถือเป็นโบสถ์เพียงไม่กี่แห่งในกรุงมะนิลาที่สร้างขึ้นตามแบบโกธิค หน้าต่างของโบสถ์แห่งนี้ประดับด้วยกระจกสี ทำให้ภายในโบสถ์ค่อนข้างมืดอันเป็นเทคนิคการจำกัดแสตามแบบโกธิค

พระโพธิสัตว์ จิตรกรรมในเจดีย์อโลปเย
พุกาม
จิตรกรรมพระโพธิสัตว์ จิตรกรรมในเจดีย์อโลปเย

พระโพธิสัตว์เหล่านี้แต่งตัวคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น การทรงมงกุฎที่มีกระบังหน้าสามตาบ การทรงยัชโญปวีตตวัดเป็นรูปตัว S และการนุ่งผ้านุ่งเป็นริ้ว รวมถึงการปรากฏดอกไม้สองดอกขนาบทั้งสองข้างอย่างสมมาตรย่อมแสดงให้เห็นอิทธิพลปาละตอนปลายอย่างมาก จิตรกรรมเองก็ใช้สีโทนร้อนตามอย่างปาละ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าจิตรกรรมดังกล่าวคงมีอายุอยู่ในสมัยพุกามตอนต้น

จิตรกรรมประกอบซุ้มในเจดีย์ปยาตองสู
พุกาม
จิตรกรรมจิตรกรรมประกอบซุ้มในเจดีย์ปยาตองสู

ซุ้มประตูของเจดีย์ปยาตองสูตกแต่งด้วยจิตรกรรมอย่างน่าสนใจ โดยตามเคล็กมีการถมด้วยลวดลายพันธ์พฤกษาแทนกลายเทวดาตามแบพุกามตอนปลาย ท่ปลายสุดของซุ้มปรากฏรูปกินนร-กินนรีกำลังยกมือไหว้ ซึ่งลวดลายนี้จะเป็นต้นแบบให้ศิลปะสุโขทัยและล้านนาในศิลปะไทย น่าสังเกตว่ากินนรกินนรีที่นี่สวมมงกุฎที่ประดับด้วยตามสามเหลี่ยมอันแสดงแรงบันดาลใจจากศิลปะปาละอย่างชัดเจน