ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 457 ถึง 464 จาก 522 รายการ, 66 หน้า
พระมหาการุณิกะสำริด
จาการ์ตา
ประติมากรรมพระมหาการุณิกะสำริด

ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลัง

พระพุทธรูปประทับยืนสำริด
จาการ์ตา
ประติมากรรมพระพุทธรูปประทับยืนสำริด

พระพุทธรูปองค์นี้มีความคล้ายคลึงกับศิลปะอมราวดี-ลังกาอย่างมาก ด้วยเหตุทีมีอุษณีษะต่ำ ประทับยืนแต่ห่มจีวรเฉียงมีขอบจีวรขึ้นมาพาดพระกรซ้าย พระหัตถ์ทั้งสองข้างยกข้นขนานกันในปางวิตรรกะ-กฎกมุทรา อันเป็นปางที่ได้รับความนิยมมากกับพระพุทธรูปลังกา พระพุทธรูปองค์นี้จึงสรุปได้ว่าได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียใต้-ลังกาอย่างมาก อย่างไรก็ดี จีวรของพระพุทธรูปองค์นี้กลายเป็นจีวรเรียบไม่มีริ้วแบบคุปตะและวกาฏกะแล้ว

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรประทับยืนสำริด
จาการ์ตา
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรประทับยืนสำริด

ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลัง ประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะการมีประภามณฑลประดับไปด้วยเปลวไฟเป็นระยะๆ ด้านบนประดับฉัตร อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ดูแปลกออกไปจากศิลปะปาละก็คือ ฟู่ห้อยที่คลุมพระอังสา และโบหูกระต่ายซึ่งลักษณะหลังนี้เยวข้องกับศิลปะอินเดียใต้มากกว่า

นางตาราสำริด
จาการ์ตา
ประติมากรรมนางตาราสำริด

ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลัง ประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะการมีแผ่นหลังวงรีและประดับไปด้วยเปลวไฟเป็นระยะๆ ด้านบนประดับฉัตร

ภฤกุฎี
จาการ์ตา
ประติมากรรมภฤกุฎี

ในระยะต้นของศิลปะชวาภาคตะวันออก ประติมากรรมยังคล้ายคลึงกับประติมากรรมในศิลปะชาภาคกลาง อย่างไรก็ตาม ที่แผ่นหลังเริ่มประดับด้วย “ใบบัว” ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยนี้ นอกจากนี้ ประติมากรรมยังถูกตกแต่งด้วยสร้อยเพชรพลอยและอุบะไข่มุกมากขึ้น

พระมัญชุศรี
จาการ์ตา
ประติมากรรมพระมัญชุศรี

ลักษณะสำคัญของประติมากรรมชวาภาคตะวันออก คือ ที่แผ่นหลังประดับด้วย “ใบบัว”จำนวนมาก ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยนี้ สำหรับประติมากรรมชิ้นนี้ยังมีเครื่องประดับน้อยเมื่อเทียบกับประติมากรรมในสมัยชวาภาคตะวันออกชิ้นอื่นๆ จึงดูมีความใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคกลางมากและอาจเป็นไปได้ที่จะมีอายุในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรพร้อมด้วยบริวาร
จาการ์ตา
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรพร้อมด้วยบริวาร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์นี้ มีเครื่องแต่งกายและประภามณฑลที่มีแนวโน้มไปสู่ศิลปะ ชวาภาคตะวันออกแล้ว และยังมีแผ่นหลังที่ประดับด้วยดอกบัวและใบบัวอันเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะสมัยนี้ นอกจากนี้ ระเบียบที่จัดพระโพธิสัตว์พร้อมด้วยบริวารทั้งสี่องค์อยู่บนแผ่นหลังเดียวกันก็เป็นลักษณะที่นิยมในระยะนี้อีกด้วย

พระโพธิสัตว์อโมฆบาศ
ตุมปัง
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อโมฆบาศ

ประติมากรรมชิ้นนี้มีลักษณะตามอย่างศิลปะขวาภาคตะวันออกโดยทั่วไป กล่าวคือ เครื่องแต่งกายประกอบด้วยสร้อยไข่มุกและพู่ไข่มุกจำนวนมาก ที่แผ่นหลัง ที่แผ่นหลังยังปรากฏดอกบัวและใบบัวจำนวนมากซึ่งเป้นลักษณะเฉพาะของศิลปะในสมัยนี้เช่นกัน