ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมพระมหิษาสูรมรรทนี
พระมหิษาสูรมรรทนีองค์ทรงเครื่องทรงสำหรับผู้หญิงตามแบบอินเดีย อันได้แก่ การทรงสร้อยคอรูปกากบาทซึ่งนิยมกับประติมากรรมสตรี เทพชั้นรองและเด็ก ที่ผ้านุ่งปรากฏเข็มขัดโบหูกระต่ายแทรกซ้อนเข้ากับผ้าคาดวงโค้งตามแบบอินเดียใต้
ประติมากรรมพระพรหม
พระพรหมองค์นี้ถือเป็นตัวอย่างสำหรับศึกษาเครื่องแต่งกายในศิลปะชวาภาคกลางได้เป็นอย่างดี พระพรหมทรงชฎามกุฎที่ประดับด้วยตาบจำนวน 3ตายตามแบบปาละ ทรงอุทรพันธะตามแบบอินเดียใต้ มีเข็มขัดเพชรพลอยตามแบบปาละแต่มีโบหูกระต่ายตามแบบอินเดียใต้ น่าสังเกตว่าเครื่องแต่งกายในศิลปะชวาภาคกลางนั้นมักเป็นส่วนผสมกันระหว่างศิลปะปาละและอินเดียใต้
ประติมากรรมพระศิวะ
พระศิวะองค์นี้ถือเป็นตัวอย่างสำหรับศึกษาเครื่องแต่งกายในศิลปะชวาภาคกลางได้เป็นอย่างดี พระองค์ทรงอุทรพันธะตามแบบอินเดียใต้ และมีโบหูกระต่ายตามแบบอินเดียใต้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม การประดับมงกุฎกลับใกล้เคียงกับศิลปะปาละมากกว่า น่าสังเกตว่าเครื่องแต่งกายในศิลปะชวาภาคกลางนั้นมักเป็นส่วนผสมกันระหว่างศิลปะปาละและอินเดียใต้
ประติมากรรมท้าวกุเวรสำริด
ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลังประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบบัลลังก์ที่คล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะการประดับอามลกะและหงส์ที่คานนอก และวยาลเหยียบช้าง ประภามณฑลมีเปลวไฟและมีฉัตรประดับ ท่แท่นบัลลังก์มีผ้าทิพย์รูปวงโค้ง
ประติมากรรมนางจุนทาสำริด
ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลังประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะการมีแผ่นหลังกลมและประดับไปด้วยเปลวไฟเป็นระยะๆ ด้านบนประดับฉัตร
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำริด
ประติมากรรมสำริดขนาดใหญ่ในศิลปะชวาภาคกลาง น่าจะเป็นประติมากรรมสำหรับการเคารพบูชา แตกต่างไปจากประติมากรรมสำริดขนาดเล็กที่อาจเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมากกว่า ประติมากรรมสำริดขนาดใหญ่ได้พบจำนวนหลายองค์ในศิลปะชวา ซึ่งคนพบเช่นกันในศิลปะศรีวิชัย เครื่องแต่งกายของประตากรรมองค์นี้คล้ายคลึงกับศิลปะปาละมาก เช่น มงกุฎสามตาบสร้อยคอคู่ที่มีสร้างคอไข่มุกและสร้อยคอเพชรพลอย เข็มขัดที่มีการห้อยอุบะขนาดใหญ่ด้านหน้าอันมีปลายเป็นรูปใบโพธิ์ เป็นต้น
ประติมากรรมพระพุทธรูปนั่่งห้อยพระบาทสำริด
ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลัง ประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะการมีแผ่นหลังกลมและประดับไปด้วยเปลวไฟเป็นระยะๆส่วนรูปแบบจีวรของพระพุทธรูปกลับมีการปะปนกันระหว่างศิลปะหลังคุปตะที่ถ้ำอชันตาและศิลปะปาละ เช่นการห่มเฉียงและมีชายจีวรสั้นเหนือพระถันตามแบบปาละ แต่มีจีวรแหวกระหว่างพระเพลาซึ่งทำให้นึกถึงที่ถ้ำอชันตา
ประติมากรรมพระอมิตาภะสำริด (?)
ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลัง ประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะบัลลังก์ซึ่งประกอบไปด้วยคานตั้งคานนอน คานตั้งประดับด้วยวยาลยกขา ส่วนคานนอน ประดับด้วยอามลกะและมกรหันออก ที่แท่นบัลลังก์ปรากฏกลีบบัวขนาดใหญ่รองรับพระพุทธรูปซึ่งเป็นระเบียบปกติของประติมากรรมสำริดที่นาลันทาในอินเดียตะวันออก