ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 25 ถึง 32 จาก 35 รายการ, 5 หน้า
มัสยิดจาเม็ก
กัวลาลัมเปอร์
สถาปัตยกรรมมัสยิดจาเม็ก

เป็นมัสยิดทีผสมผสานกันระหว่างอิทธิพลศิลปะโมกุลแบบอินเดียและศิลปะมัวร์แบบสเปน โดยที่แผนผังของอาคาร การใช้โดมสามโดมเรียงกันและรูปแบบของหอคอยซึ่งวางฉัตรีด้านบนสุดนั้นเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอินเดีย อย่างไรก็ตาม ยังมีการใช้วัสดุสลับสีและอาร์ควงโค้งหลายวงต่อเนื่องกันซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะมัวร์ด้วย

อาคารอับดุลซามัด
กัวลาลัมเปอร์
สถาปัตยกรรมอาคารอับดุลซามัด

ลักษณะที่โดดเด่นที่สุดสำหรับอาคารหลังนี้ก็คือการประกอบหอนาฬิกาซึ่งมีโดมอยู่ด้านบน โดมนี้หุ้มด้วยทองแดงทำให้ดูโดดเด่น หอคอยนี้ดูคล้ายกับหอนาฬิกาที่กรุงลอนดอนในขณะที่องค์ประกอบของอาคารในส่วนอื่นๆแล้วแต่ได้รับอิทธิพลมาจกศิลปะมัวร์ของสเปนผสมผสานกับแบบโกธิค เช่น อาร์ควงโค้งเกือกม้าแบบสเปนที่ชั้นล่างและอาร์คที่มีเสาคั่นกลางแบบโกธิคที่ชั้นบนของอาคาร เป็นต้น

อาคารพิพิธภัณฑ์ผ้า
กัวลาลัมเปอร์
สถาปัตยกรรมอาคารพิพิธภัณฑ์ผ้า

องค์ประกอบของอาคารได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะมัวร์ของสเปนผสมผสานกับแบบศิลปะโมกุลของอินเดีย แนวโน้มดังกล่าวนี้ปรากฏกับอาคารอารานคมอังกฤษหลายหลังที่มีความพยายามจะเสาะแสวงหาศิลปะอิสลามที่งดงามแล้วนำมาออกแบบใหม่ภายใต้สกุลสถาปัตยกรรมที่เรียกกันว่า Indo-Sarasenic Style ลักษณะแบมัวร์ เช่น อาร์ควงโค้งเกือกม้าและการสลับหินสีแบบสเปน ส่วนรูปแบบโดมและหอคอยนั้นกลับใช้อาคารแบบฉัตรีของอินเดียมาประดับเป็นหลัก

โบสถ์เซนต์ปอล
มะละกา
สถาปัตยกรรมโบสถ์เซนต์ปอล

อาคารสร้างด้วยศิลาแลง เป็นอาคารทรงโรงที่มีหน้าจั่วแบบคลาสสิกและมีหน้าต่างกุหลาบ (rose window) ทางด้านหน้าอย่างเรียบง่าย ภายในอาคารดูเรียบง่ายเช่นเดียวกัน ที่พื้นปรากฏแผ่นปิดหลุมศพจำนวนมากซึ่งถือเป็นธรรมเนียมของชาวคริสต์ที่มักฝังศพไว้ใต้พื้นโบสถ์เพื่อรับใช้พระจ้า

โบสถ์ประจำเมืองมะละกา
มะละกา
สถาปัตยกรรมโบสถ์ประจำเมืองมะละกา

โบสถ์ประจำเมืองมะละกา สร้างด้วยหน้าบันตามแบบบารอคซึ่งเป็นที่นิยมในศิลปะดัชต์ อย่างไรก็ตาม ภายในกลับมุงหลังคาด้วยเครื่องไม้มุงกระเบื้องตามแบบพื้นเมือง มุขด้านหน้าที่มีองค์ประกอบเป็นแบบคลาสิกนั้นถูกเพิ่มเข้ามาภายหลังจากที่อังกฤษเข้ายึดครองแล้ว

สตัตทุยส์
มะละกา
สถาปัตยกรรมสตัตทุยส์

เป็นอาคารที่ตั้งอยู่ด้านหน้าจัตุรัส ซึ่งถือเป็นการออกแบบอาคารสำคัญในศิลปะตะวันตกทีมักหันหน้าสู่จัตุรัสเสมอ ด้านหน้ามีบันไดทางขึ้นอาคารที่แสดงถึงความสง่างาม อาคารหลังนี้เป้นอาคารสามชั้นที่ด้านหลังพิงอยู่กับเนินเขากลางเมืองมะละกา

หอคอยมัสยิดกำปงกลิง
มะละกา
สถาปัตยกรรมหอคอยมัสยิดกำปงกลิง

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย

มัสยิดกำปงกลิง
มะละกา
สถาปัตยกรรมมัสยิดกำปงกลิง

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ระบบนี้แตกต่างไปจากมัสยิดในพื้นที่อื่นๆทีมักอยู่ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าและหลังคาเป็นหลังคาตัดประกอบด้วยโดมจำนวนมาก มัสยิดแบบหลังคาลาดนี้ ยังปรากฏกับมัสยิดกำปงฮูลูในเมืองมะละกาเช่นเดียวกัน มัสยิดทั้งสองถือเป็นมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ที่สมบูรณ์ที่สุดและเป็นมัสยิดรุ่นเก่าก่อนที่ระบบโดมจะถูกนำเข้ามาโดยสถาปนิกชาวอังกฤษในภายหลัง