ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 25 ถึง 32 จาก 80 รายการ, 10 หน้า
ฐานของบรรณาลัยปราสาทบาญอิ๊ด
บิญดิ่น
สถาปัตยกรรมฐานของบรรณาลัยปราสาทบาญอิ๊ด

ด้านข้างปราสาทประธานเป็นที่ตั้งของอาคารในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งมีหลังคาทรงประทุน อาคารดังกล่าวนี้ตรงกับ “บรรณาลัย” ในศิลปะขอม โดยลักษณะพิเศษของอาคารหลังนี้ก็คือ การสลักลวดลายตกแต่งทั้งฐาน เรือนธาตุและซุ้มหน้านาง ฐานของปราสาทหลังนี้ปรากฏ “สัตว์แบก” จำนวนมาก เช่น ครุฑแบบ สิงห์แบก ซึ่งทำให้นึกถึงประติมากรรมครุฑจากปราสาทถาปมาม (ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ดานัง) สัตว์แบกเหล่านี้เป้นรท่นิยมอย่างมากในศิลปะบิญดิ่น

เนินเขาที่ตั้งของปราสาทเฝื๊อกหล็อก
บิ่ญดิน
สถาปัตยกรรมเนินเขาที่ตั้งของปราสาทเฝื๊อกหล็อก

ปราสาทเฝื๊อกหล็อก เป็นปราสาทหลังเดี่ยว ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง ซึ่งถือเป็นทำเลที่ปราสาทสมัยบิญดิ่นนิยม ที่ตั้งดังกล่าวทำให้ปราสาทกลายเป็นจุดโดดเด่น (Landmark)

ปราสาทเฝื๊อกหล็อก
บิ่ญดิน
สถาปัตยกรรมปราสาทเฝื๊อกหล็อก

เป็นปราสาทหลังเดี่ยว มีเสาติดผนังจำนวน 5 ต้น เป็นเสาที่ไม่มีร่องและไม่มีลวดลายใดๆ ตรงกลางมีซุ้มจระนำรูปปราสาทที่ตกแต่งด้วยซุ้มใบหอก ด้านบนปราสาทมีชั้นซ้อนตามแบบวิมานแต่ปราสาทมุมได้พังทลายไปหมดแล้ว เสาติดผนังจำนวน 5 ต้นและการไม่ตกแต่งเสาติดผนัง รวมถึงซุ้มทรงใบหอก ทำให้สามารถกำหนดอายุได้ว่าปราสาทหลังนี้อยู่ในสมัยบิญดิ่นตอนปลาย อนึ่งปราสาทสมัยนี้ยังนิยมตั้งอยู่โดดๆ และมีความสูงเป็นอย่างมาก ทำให้สามารถเห็นได้ในระยะไกล

ปราสาทถูเทียน
บิ่ญดิน
สถาปัตยกรรมปราสาทถูเทียน

เป็นปราสาทหลังโดด มีความสูงเป็นอย่างมาก ตั้งอยู่บนพื้นราบ ปราสาทประดับด้วยเสาติดผนังจำนวน 5 ต้นที่ไม่มีร่องและไม่มีลวดลาย ยอดด้านบนซ้อนชั้นด้วยเรือนธาตุจำลองตามแบบวิมาน ที่มุมของชั้นหลังคาปรากฏปราสาทจำลองทรงพุ่ม ซึ่งมีรูปแบบคล้ายคลึงกับปราสาทแก๋งเตียน การที่ปราสาทมีความสูงเป็นอย่างมาก มีเสาติดจำนวน 5 ต้นที่ไม่มีร่องและไม่มีลวดลาย แสดงให้เห็นลักษณะของปราสาทแบบบิญดิ่นตอนปลาย ปราสาทจำลองทรงพุ่มที่มุมของชั้นหลังคาก็ถือเป้นลักษณะเฉพาะของสมัยนี้เช่นเดียวกัน

ปราสาทบิญหลำ
บิ่ญดิน
สถาปัตยกรรมปราสาทบิญหลำ

เป็นปราสาทสมัยบิญดิ่นตอนต้นที่งดงามด้วยการตกแต่งซุ้มจระนำทรงปราสาท เรือนธาตุมีการตกแต่งด้วยเสาติดผนังจำนวน 5 ต้น มีร่องแต่ไม่มีลวดลายแล้ว ส่วนกลางของเรือนธาตุปราสาทปราสาทจำลองบดบังเสาต้อนที่ห้า ประดับไปด้วยซุ้มกาล-มกรแบบอิทธิพลชวาซึ่งยังตกทอดลงมาจนถึงระยะนี้ การที่เรือนธาตุมีการตกแต่งด้วยเสาติดผนังจำนวน 5 ต้น มีร่องแต่ไม่มีลวดลาย โดยที่ร่องไม่ได้ทะลุเลยบัวหัวเสาอีกต่อไปนั้น ถือเป็นลักษณะของศิลปะบิญดิ่นตอนต้น ประเด็นนี้ตอบรับกับซุ้มกาล-มกรแบบอิทธิพลชวาซึ่งแพร่หลายมาตั้งแต่ศิลปะมิเซิน A1 และยังปรากฏตกทอดอยู่มาจนถึงศิลปะบิญดิ่นตอนต้น

ซุ้มทรงปราสาทของปราสาทบิญหลำ
บิ่ญดิน
สถาปัตยกรรมซุ้มทรงปราสาทของปราสาทบิญหลำ

เป็นปราสาทสมัยบิญดิ่นตอนต้นที่งดงามด้วยการตกแต่งซุ้มจระนำทรงปราสาท ปราสาทจำลอง ประดับไปด้วยซุ้มกาล-มกรแบบอิทธิพลชวาซึ่งยังตกทอดลงมาจนถึงระยะนี้ชั้นซ้อนของปราสาทจำลอง ปรากฏชั้นซ้อนจำลนวนสี่ชั้น แต่ละชั้นประดับไปด้วยซุ้มจระนำและอาคารจำลองอย่างงดงาม โดยซุ้มทั้งหมดทับอยู่บนกรอบรูปใบหอกอีกทีหนึ่ง เนื่องด้วยซุ้มปราสาทดังกล่าวปรากฏ “ซุ้มกาล-มกร” แบบอิทธิพลชวาซึ่งแพร่หลายมาตั้งแต่ศิลปะมิเซิน A1 และยังปรากฏตกทอดอยู่มาจนถึงศิลปะบิญดิ่นตอนต้น ดังนั้นเมื่อศึกษาร่มกับเสาติดผนังทำให้ทราบว่าปราสาทแห่งนี้อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างมิเซิน A1 กับบิญดิ่นตอนต้น

ปราสาทถาปดอย
บิ่ญดิน
สถาปัตยกรรมปราสาทถาปดอย

ปราสาทถาปดอย เป็นปราสาทที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะขอมอย่างมาก ดังที่มีการใช้หินตามแบบขอมแทรกเข้าในอาคารที่ใช้อิฐเป็นวัสดุหลัก นอกจากนี้ ปราสาทยังมีการประดับกลีบขนุน ทำให้ยอดของปราสาทกลายเป็นทรงพุ่มดังที่ปรากฏที่ปราสาทขอมตั้งแต่สมัยนครวัดลงมา นอกจากนี้ การใช้ “ครุฑแบก” แบกที่มุมปราสาทยังเกี่ยวข้องกับศิลปะขอมอีกด้วย เนื่องจากจามตกเป็นเมืองขึ้นของขอมในสมัยบิญดิ่นตอนปลาย ร่วมสมัยกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของขอม ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถกำหนดอายุปราสาทที่ได้อิทธิพลขอมว่าควรอยู่ในสมัยบิญดิ่นตอนปลาย

ยอดของปราสาทถาปดอย
บิ่ญดิน
สถาปัตยกรรมยอดของปราสาทถาปดอย

ปราสาทถาปดอย เป็นปราสาทที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะขอมอย่างมาก ดังที่มีการใช้หินตามแบบขอมแทรกเข้าในอาคารที่ใช้อิฐเป็นวัสดุหลัก นอกจากนี้ ปราสาทยังมีการประดับกลีบขนุน ทำให้ยอดของปราสาทกลายเป็นทรงพุ่มดังที่ปรากฏที่ปราสาทขอมตั้งแต่สมัยนครวัดลงมา นอกจากนี้ การใช้ “ครุฑแบก” แบกที่มุมปราสาทยังเกี่ยวข้องกับศิลปะขอมอีกด้วย เนื่องจากจามตกเป็นเมืองขึ้นของขอมในสมัยบิญดิ่นตอนปลาย ร่วมสมัยกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของขอม ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถกำหนดอายุปราสาทที่ได้อิทธิพลขอมว่าควรอยู่ในสมัยบิญดิ่นตอนปลาย