ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 57 ถึง 64 จาก 86 รายการ, 11 หน้า
พระโพธิสัตว์เจดีย์ปยาตองสู
พุกาม
จิตรกรรมพระโพธิสัตว์เจดีย์ปยาตองสู

พระโพธิสัตว์ที่เจดีย์ปยาตองสู ทรงเครื่องทรงที่คล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น มงกุฎสามตาบ ผ้านุ่งที่เป็นริ้ว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พระโพธิสัตว์แสดงอาการจีบนิ้วและถือ “ช่อกนก” อันแตกต่างไปจากพระโพธิสัตว์ในศิลปะพุกามตอนต้นที่ยังคงถือดอกไม้จามแบบศิลปะปาละ

พระอดีตพุทธเจ้าที่มากมายนับไม่ถ้วน เจดีย์ปยาตองสู
พุกาม
จิตรกรรมพระอดีตพุทธเจ้าที่มากมายนับไม่ถ้วน เจดีย์ปยาตองสู

ผนังของเจดีย์ปยาตองสูมีการประดับด้วยจิตรกรรมพระอดีตพุทธเจ้าจำนวนนับไม่ถ้วน โดยบางครั้งพระอดีตพระพุทธเจ้าเหล่านี้ก็อยู่ในช่องตารางที่เป็นรวงผึ้ง

เทวดาและพระสาวกเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าตอนปรินิพพาน
โมนยวา
จิตรกรรมเทวดาและพระสาวกเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าตอนปรินิพพาน

จิตรกรรมในสมัยนยองยาน มีลักษณะเด่นคือ ใช้สีโทนร้อนแต่มีสีเขียวที่แทรกเข้าไปในภาพ ไม่มีทัศนียวิทยา ภาพวาดมีการตัดเส้นอย่างง่ายๆ รูปทรงง่ายๆเหมือนการวาดการ์ตูนในปัจจุบัน แต่ละภาพมักคั่นไปด้วยเส้นสินเทาที่เป็นวงโค้งต่อเนื่องกัน ภาพรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่าทำให้ต้องถมลายพันธุ์พฤกษาเข้าไปในพื้นที่ว่าง บางครั้งมักวาดภาพะเป็นแถบยาวๆคล้ายภาพบนใบลาน

พุทธประวัติตอนออกมหาภิเนษกรมณ์ของพระอดีตพุทธเจ้า
โมนยวา
จิตรกรรมพุทธประวัติตอนออกมหาภิเนษกรมณ์ของพระอดีตพุทธเจ้า

จิตรกรรมในสมัยนยองยาน มีลักษณะเด่นคือใช้สีโทนร้อนแต่มีสีเขียวที่แทรกเข้าไปในภาพ ไม่มีทัศนียวิทยา ภาพวาดมีการตัดเส้นอย่างง่ายๆ รูปทรงง่ายๆเหมือนการวาดการ์ตูนในปัจจุบัน แต่ละภาพมักคั่นไปด้วยเส้นสินเทาที่เป็นวงโค้งต่อเนื่องกัน ภาพรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่าทำให้ต้องถมลายพันธุ์พฤกษาเข้าไปในพื้นที่ว่าง บางครั้งมักวาดภาพเป็นแถบยาวๆ คล้ายภาพบนใบลาน

พระพุทธเจ้าขนาดใหญ่
พุกาม
จิตรกรรมพระพุทธเจ้าขนาดใหญ่

การเขียนพระพุทธรูปขนาดใหญ่เพื่อให้เต็มพื้นที่ผนังที่มีขนาดใหญ่นั้น ดูเหมือนจะเป็นความนิยมในศิลปะสมัยราชวงศ์คองบองสกุลช่างพุกาม อนึ่ง พระกรรณที่บานออก รวมถึงชายจีวรที่พระอังสาซ้ายยาวจนถึงพระนาภีนั้น เป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะในสมัยหลังจากพุกาม

พุทธประวัติตอนสัตตมหาสถาน
พุกาม
จิตรกรรมพุทธประวัติตอนสัตตมหาสถาน

จิตรกรรมที่นี่ดูเหมือนว่าจะเป็นลายเส้นบนพื้นสีครีม พระพุทธองค์ทรงมีชาวจีวรสองชั้นพาดพระอังสาซ้าย คือ ชายจีวรสั้นกับชายจีวรยาว ซึ่งถือเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะสมัยหลังพุกาม

พุทธประวัติตอนสัตตมหาสถาน
พุกาม
จิตรกรรมพุทธประวัติตอนสัตตมหาสถาน

จิตรกรรมที่นี่ดูเหมือนว่าจะเป็นลายเส้นบนพื้นสีครีม พระพุทธองค์ทรงมีชาวจีวรสองชั้นพาดพระอังสาซ้าย คือ ชายจีวรสั้นกับชายจีวรยาว ซึ่งถือเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะสมัยหลังพุกาม

อดีตพุทธและพุทธประวัติตอนมหาภิเนษกรมณ์
พุกาม
จิตรกรรมอดีตพุทธและพุทธประวัติตอนมหาภิเนษกรมณ์

จิตรกรรมในสมัยคองบองตอนต้นมีลักษณะคล้ายศิลปะสมัยนยองยาน มีลักษณะเด่นคือใช้สีโทนร้อนแต่มีสีเขียวที่แทรกเข้าไปในภาพ ไม่มีทัศนียวิทยา ภาพวาดมีการตัดเส้นอย่างง่ายๆ รูปทรงง่ายๆเหมือนการวาดการ์ตูนในปัจจุบัน แต่ละภาพมักคั่นไปด้วยเส้นสินเทาที่เป็นวงโค้งต่อเนื่องกัน ภาพรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่าทำให้ต้องถมลายพันธุ์พฤกษาเข้าไปในพื้นที่ว่าง บางครั้งมักวาดภาพะเป็นแถบยาวๆคล้ายภาพบนใบลานอย่างไรก็ตาม การปรากฏอิทธิพลมงกุฎสูงแบบไทย ทำให้ทราบด่าจิตรกรรมที่นี่น่าจะเขียนขึ้นหลังจากการตีกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองแล้ว