ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 73 ถึง 80 จาก 86 รายการ, 11 หน้า
ทวารบาล ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง
หลวงพระบาง
จิตรกรรมทวารบาล ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง

ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร โดยผนังด้านหน้าวัดเชียงทอง มีการประดับภาพ “เหล่าเทวดากำลังบูชาพระเจดีย์จุฬามณี” อันงดงามมาก บริเวณผนังที่ขนาบทางเข้ายังปรากฏภาพ “ทวารบาล” หรือเทวดาผู้รักษาประตูขนาดใหญ่ เทวดาเหล่านี้มักถือดอกโบตั๋นอันสื่อความหมายถึง “การบูชาพระพุทธเจ้า” ผู้ประทับภายในอาคารนั้น ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ในศิลปะจีนที่เข้ามามีบทบาททั้งในศิลปะล้านช้างและล้านนา

เทวดา ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง
หลวงพระบาง
จิตรกรรมเทวดา ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง

ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร โดยผนังด้านหน้าวัดเชียงทอง มีการประดับภาพ “เหล่าเทวดากำลังบูชาพระเจดีย์จุฬามณี” อันงดงามมาก

จิตรกรรมวัดป่าฮวก
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมวัดป่าฮวก

ศิลปะหลวงพระบางช่วงพุทธศตวรรษที่ 24-25 เป็นระยะที่ได้รับอิทธิพลรัตนโกสินทร์อย่างมาก อนึ่ง ต้องไม่ลืมว่า การที่เจ้านายบางพระองค์ในราชวงศ์หลวงพระบางได้เคยเสด็จมาประทับ ณ กรุงเทพจึงอาจทำให้อิทธิพลรัตนโกสินทร์ปรากฏบทบาทอย่างมากในถบนี้ก็ได้

จิตรกรรมวัดป่าฮวก
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมวัดป่าฮวก

จิตรกรรมที่นี่มีความพิเศษอย่างมากเนื่องจากมีการวาดภาพ “คนจีน” แทรกลงไปในจิตรกรรมไทยประเพณี ซึ่งลักษณะเช่นนี้แตกต่างไปจากจิตรกรรมที่กรุงเทพ คนจีนเหล่านี้มีทั้งบุรุษและสตรี โดยการแต่งตัวแสดงให้เห็นเอกลักษณ์ชนชาติอย่างชัดเจน อนึ่ง ต้องไม่ลืมว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการติดต่ออย่างมากระหว่างจีนกับรัตนโกสินทร์ ซึงอิทธิพลดังกล่าวอาจเลยมาถึงหลวงพระบางเช่นกัน

จิตรกรรมวัดป่าฮวก
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมวัดป่าฮวก

แม้ว่ารูปแบบของจิตรกรรมที่นี่แสดงความพยายามในการเลียนแบบศิลปะรัตนโกสินทร์อย่างมาก เช่น การวาดภาพปราสาทและเครื่องแต่งกายบุคคลเป็นต้น แต่การใช้สีของจิตรกรรมที่นี่กลับแปลกออกไปกว่าศิลปะรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะการเน้นสีส้ม

ทวารบาลแบบจีน สิมวัดล่องคูณ
หลวงพระบาง
จิตรกรรมทวารบาลแบบจีน สิมวัดล่องคูณ

เนื่องจากศิลปะหลวงพระบางช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 เป็นระยะที่ได้รับอิทธิพลรัตนโกสินทร์อย่างมาก ทำให้รูปทวารบาลแบบจีนตามพระราชนิยมในรัชกาลที่สามได้เข้ามาปรากฏในแถบนี้บางวัด เช่น วัดล่องคูณเมืองหลวงพระบาง เป็นต้น อนึ่ง ต้องไม่ลืมว่า การที่เจ้านายบางพระองค์ในราชวงศ์หลวงพระบางได้เคยเสด็จมาประทับ ณ กรุงเทพจึงอาจทำให้อิทธิพลรัตนโกสินทร์ปรากฏบทบาทอย่างมากในแถบนี้ก็ได้

จิตรกรรมบนหน้าบัน สิมวัดหาดเสี้ยว
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมบนหน้าบัน สิมวัดหาดเสี้ยว

อิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่น การวาดท้องฟ้าสีฟ้าและทัศนียวิทยาตามแบบความเป็นจริงซึ่งแสดงให้เห็นการเข้ามาของอิทธิพลตะวันตก จิตรกรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัย รัชกาลที่ 4-5

จิตรกรรมเรื่องพระเตมีย์
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมเรื่องพระเตมีย์

อิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่นการวาดภาพปราสาทราชวังและตัวละคร รวมถึง การวาดท้องฟ้าสีฟ้าและทัศนียวิทยาตามแบบความเป็นจริงซึ่งแสดงให้เห็นการเข้ามาของอิทธิพลตะวันตก จิตรกรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัย รัชกาลที่ 4-5