ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา
พระพุทธรูปภายในถ้ำปินดายา ถือเป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปในสกลุช่างไทยใหญ่ที่ดีที่สุด พระพุทธรูปในสกุลช่างนี้ มักมีพระเศียรใหญ่แต่พระวรกายเล็ก พระอังสาแคบ พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะพิเศษ คือทรงถือ “ตาลปัตร” หรือพัดที่ทำจากใบตาลอยู่ที่พระอุระ ตาลปัตรนี้กำเนิดในลังกา โดยมักถือโดยพระภิกษุที่ขึ้นเทศนาธรรม ต่อมาได้สงอิทธิพลให้กับเอเชียอาคเนย์ด้วย โดยมักปรากฏกับพระพุทธรูป พระภิกษุหรือพระโพธิสัตว์ที่กำลังประทับนั่งเทศนาธรรม อนึ่ง พระพุทธรูปองค์นี้ถือเป็นลักษณะพิเศษที่ประทับยืนขณะที่ถือตาลปัตร
ประติมากรรมพระพุทธบาทชเวเสตตอจำลอง
พระพุทธบาทในศิลปะสมัยหลังพุกาม มักประดับด้วยลายมงคลทั้ง 108 ลาย โดยมีทั้งแบบที่บรรจุในตารางกระจายทั้งพระบาท และแบที่วนเป็นวงกลมอยู่ที่กึ่งกลางพระบาทเท่านั้น ส่วนที่ขอบล้อมรอบไปด้วยพญานาคและมักมีขอบพระบาทหนาเพื่อหล่อน้ำไวตลอดเวลา ตามคติเรื่องพระบาทที่ชเวเสตตอซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำ
ประติมากรรมตุ๊กตาไม้รูปเทวทูตสี่
ในศิลปะมัณฑเล วัดแต่ละแห่งมักประดับด้วยตุ๊กตาไม้ซึ่งเล่าเรื่องพุทธประวัติหรือชาดก เช่น พุทธประวัติตอนเทวทูตสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตายและสมณะ โดยประติมากรรมทั้งสี่นี้มักจะสลักเป็นชุด ประติมากรรมมักเน้นความสมจริง เช่น คนมักเน้นความเหี่ยวย่นของร่างกาย ส่วนคนตายก็จำลองภาพของศพนอนอืด การสลักได้เหมือนจริงนี้ถือว่าเป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของประติมากรรมพม่า และยังอาจแสงอิทธิพลตะวันตกด้วย
ประติมากรรมชุกชีรูปปยาทาดจำลอง
พระพุทธรูปขนาดเล็กในศิลปะมัณฑเล มักประดิษฐานอยู่ภายในชุกชีรูปปยาทาดจำลอง ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากที่ทะเลสาบอินเลในรัฐฉาน โดยปยาทาดในภาพทำเป็นปยาทาดสี่ยอดที่มีความซับซ้อนอย่างยิ่ง
ประติมากรรมช้างเอราวัณที่วัดพระมหามัยมุนี
ประติมากรรมกลุ่มนี้เป็นศิลปะบายนอย่างชัดเจน สามารถกำหนดอายุอยู่ได้ว่าน่าจะหล่อขึ้นในราวรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เครื่องแต่งกายของประติมากรรม เช่น มงกุฎที่ประกอบด้วยรัดเกล้ารูปสามเหลี่ยม และผ้านุ่งของประติมากรรมบุคคล รวมถึงขนคอแผงรูปสามเหลี่ยมของสิงห์และสร้อยคอที่ประดับด้วยแผงอุบะของประติมากรรมหลายตัวก็ล้วนแต่แสดงลักษณะประจำของศิลปะขอมทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยการเคลื่อนย้ายประติมากรรมชุดนี้หลายครั้ง จึงอาจทำให้ประติมากรรมชำรุดเสียหาย และเกิดการซ้อมโดยชาวพม่าขึ้น ประติมากรรมบางชิ้น เช่น ประติมากรรมรูปสิงห์จึงมีหัวเป็นศิลปะพม่าแต่ตัวเป็นศิลปะขอม เป็นต้น
ประติมากรรมสิงห์ที่วัดพระมหามัยมุนี
ประติมากรรมกลุ่มนี้เป็นศิลปะบายนอย่างชัดเจน สามารถกำหนดอายุอยู่ได้ว่าน่าจะหล่อขึ้นในราวรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เครื่องแต่งกายของประติมากรรม เช่น มงกุฎที่ประกอบด้วยรัดเกล้ารูปสามเหลี่ยม และผ้านุ่งของประติมากรรมบุคคล รวมถึงขนคอแผงรูปสามเหลี่ยมของสิงห์และสร้อยคอที่ประดับด้วยแผงอุบะของประติมากรรมหลายตัวก็ล้วนแต่แสดงลักษณะประจำของศิลปะขอมทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยการเคลื่อนย้ายประติมากรรมชุดนี้หลายครั้ง จึงอาจทำให้ประติมากรรมชำรุดเสียหาย และเกิดการซ้อมโดยชาวพม่าขึ้น ประติมากรรมบางชิ้น เช่น ประติมากรรมรูปสิงห์จึงมีหัวเป็นศิลปะพม่าแต่ตัวเป็นศิลปะขอม เป็นต้น
ประติมากรรมลวดลายประดับประตูที่ชเวนันดอจอง
เนื่องจากรัชสมัยพระเจามินดงเป็นช่วงที่อิทธิพลตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทมากในศิลปะพม่า ทำให้เกิดการนำเอาลายอะแคนธัส หรือใบผักกาดฝรั่งมาประยุกต์ใช้ประดับสถาปัตยกรรมพม่าอย่างมาก ในภาพนี้เป็นภาพของกรอบประตูซึ่งได้มีการนำเอาลายใบอะแคนธัสมาใช้แทนลายกรอบหน้าบน รวมถึงเคล็กและครีบที่ประดับรอบประตู ส่วนผนังของอาคารออกแบบเป็นฝาปะกนที่ประดับด้วยบุคคลขนาดเล็ก ปิดทองซึ่งทำให้อาคารหลังนี้มีชื่อว่า ชเวนันดอ หรือพระที่นั่งทอง
ประติมากรรมภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง
เนื่องจากรัชสมัยพระเจามินดงเป็นช่วงที่อิทธิพลตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทมากในศิลปะพม่า ทำให้เกิดการนำเอาลายอะแคนธัส หรือใบผักกาดฝรั่งมาประยุกต์ใช้ประดับสถาปัตยกรรมพม่าอย่างมาก ภาพนี้เป็นภาพสลักเล่าเรื่องชาดกซึ่งล้อมรอบไปด้วยลายอะแคนธัส ซึ่งประดับอยู่ที่มุมของชานชาลายกพื้นภายในอาคารของชเวนันดอจอง เป็นไปได้ที่การประดับดังกล่าวถูกสลักเพิ่มเติมขึ้นเมื่ออาคารหลังนี้ได้รับการถวายให้กลายเป็นวัดแล้ว