ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 417 ถึง 424 จาก 471 รายการ, 59 หน้า
โรงเรียนเซนต์ไมเคิล
อิโปห์
สถาปัตยกรรมโรงเรียนเซนต์ไมเคิล

เค้าโครงของอาคารเรียนแห่งนี้มีผังแบบ Palladian คือมีมุขยื่นออกมาและมีการชัดปีกอาคารให้อื่นออกไปทั้งสองด้านอย่างสมมาตร เนื่องจากแผนผังแบบนี้ดูมีเหตุผล เหมาะสมกับโรงเรียน มหาวิทยาลัยและสถานที่ราชการ องค์ประกอบรวมของอาคารก็เป็นแบบ Classic เช่นการประดับ pediment รูปสามเหลี่ยม เป็นต้น แม้ว่าจะมีรายละเอียดเล็กน้อยที่เป็นโกธิคก็ตาม

สถานีรถไฟเมืองอิโปห์
อิโปห์
สถาปัตยกรรมสถานีรถไฟเมืองอิโปห์

เค้าโครงของอาคารแห่งนี้มีผังแบบ Palladian คือมีมุขยื่นออกมาและมีการชัดปีกอาคารให้อื่นออกไปทั้งสองด้านอย่างสมมาตร เนื่องจากแผนผังแบบนี้ดูมีเหตุผล เหมาะสมกับสถานที่ราชการ องค์ประกอบรวมของอาคารก็เป็นแบบ Classic เช่นการประดับ pediment รูปสามเหลี่ยม อาร์คโค้งและเสาดอริค เป็นต้น โดยมีโดมกลมครอบอยู่ที่ด้านบนของมุขกลาง อย่างไรก็ตาม อาคารแห่งนี้มีการออกแบบให้ดูแปลกตาออกไปด้วยการกำหนดให้หน้าบันกลางและหน้าบันด้านข้างมีลักษณะต่างกัน เล็กน้อย รวมถึงรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมของชั้นบนและชั้นล่างที่แตกต่างกัน

โรงแรมสโมคเฮาส์
คาเมรอนไฮแลนด์
สถาปัตยกรรมโรงแรมสโมคเฮาส์

อาคารเก่าของโรงแรมสโมคเฮาส์ เป็นอาคารแบบ “กระท่อมอังกฤษ” (English Cottage)คือมีลักษณะเหมือนกระท่อมที่มีการแทรกไม้สนเป็นโครงสร้างเสริมเข้าไปในผนัง ภายในอาคารมีการใช้เตาผิงอิฐและปล้องไฟซึ่งทำให้ภายในอาคารมีความอบอุ่น อาคารแบบนี้นิยมสร้างในชนบทของยุโรป อาคารทรง English Cottage นี้ สะท้อนความโหยหาบ้านเกิดเมืองนอนของนักล่าอาณานิคมที่พยายามจำลองอาคารในยุโรปทีตนคุ้นเคยมาไว้ที่ Hill Station ซึ่งมีอากาศหนาวเย็นตลอดปี

มัสยิดอุบุดิยะห์
กัวลากังสาร์
สถาปัตยกรรมมัสยิดอุบุดิยะห์

กล่าวกันว่า มัสยิดอุบุดิยะห์ เป็นหนึ่งในมัสยิดที่งดงามที่สุดในมาเลเซีย มีแผนผังแปดเหลี่ยมแบบรวมศูนย์ (Centralize plan) อันครอบด้วยโดมขนาดใหญ่ และมีหอคอยแบบอินเดียทั้งสี่ด้าน นอกจากนี้ยังปรากฏเท้าแขน (Buttress) ขนาดใหญ่ที่มุมทั้งแปดของอาคารผังแปดเหลี่ยม

อิสตานา เปนาหงัน
กัวลากังสาร์
สถาปัตยกรรมอิสตานา เปนาหงัน

พระราชวังดังกล่าว แม้ว่าจะสร้างขึ้นตามอิทธิพลตะวันตก แต่การใช้ “ฝาขัดแตะ” มาเป็นผนังโดยปราศจากการใช้ตะปูแม้แต่เพียงตัวเดียว ถือเป็นความสำเร็จที่น่าอัศจรรย์ของสถาปนิกชาวมาเลย์ ฝาขัดแตะยังทำให้เกิดสีสันของผนังอาคารที่แตกต่างไปจากอาคารที่ก่อผนังด้วยวัสดุถาวรอีกด้วย ฝาขัดแตะรวมถึงหน้าต่างและบานเฟี้ยมจำนวนมาก ย่อมทำให้อาคารระบายอากาศได้ดี รับกับสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นของมาเลเซีย

พิพิธภัณฑ์รัฐเปรัค
กัวลากังสาร์
สถาปัตยกรรมพิพิธภัณฑ์รัฐเปรัค

อาคารพิพิธภณฑ์รัฐเปรัค มมีการออกแบบที่น่าสนใจมาก เนื่องจากมีการหยิบยืมเอา façade ด้านหน้าโบสถ์ในศาสนาคริสต์ มาใช้เป็นอาคารมุมของพิพิธภัณฑ์ซึ่งจัดวางอยู่ในแผนผังแบบ Palladium ลักษณะของfacade แบบโบสถ์คริสต์ คือเป็นแผงหน้าบันซึ่งขนาบข้างไปด้วยหอคอยสองหอ การออกแบอาคารหลังนี้จึงแสดงความก้าวหน้าของสถาปนิกที่ไม่ยึดติดการจำกัดกั้นระหว่างอาคารทางศาสนากับอาคารทางราชการ

หอนาฬิกาเมืองไตปิง
ไตปิง
สถาปัตยกรรมหอนาฬิกาเมืองไตปิง

หอนาฬิกาแห่งนี้มีส่วนผสมของหอคอยที่มีหลังคาทรงกรวยสูงตามแบบโกธิค กับองค์ประกอบของอาคารตามแบบคลาสิก เช่น อาร์คโค้งรองรับด้วยเสา และหน้าจั่วสามเหลี่ยม (pediment) หอคอยแบ่งออกได้เป็นสามส่วน คือตัวอาคารด้านล่างซึ่งวางผังเฉียงสอดรับกับการเป็นหัวมุมสี่แยก ถัดขึ้นมาได้แก่หอคอยสำหรับให้คนขึ้นสังเกตการณ์ ออกแบบโดยใช้องค์ประกอบแบคลาสสิก ถัดขึ้นไปจึงเป็นหลังคาแหลมสูงแบบโกธิคคั่นด้วยตำแหน่งของนาฬิกา อนึ่ง เดิมทีหอนาฬิกาแห่งนี้สร้างติดกับอาคารทรงป้อมปราการซึ่งถูกรื้อลงแล้ว

โบสถ์โอลด์เซนต์
ไตปิง
สถาปัตยกรรมโบสถ์โอลด์เซนต์

โบสถ์มีลักษณะเป็นอาคารไม้ซึ่งดูคล้ายกับอาคารในชนบทของยุโรป อาคารอยู่ในผังแบบไม้กางเขน หลังคามีสองชั้นและผนังด้านข้างเป็นบานเฟี้ยมที่มารถเปิดระบายอากาศได้ ด้านหน้ามีหอระฆังขนาดเล็กและมีหน้าต่างรูปดอกกุหลาบซึ่งถือเป็นลักษณะปกติของโบสถ์โดยทั่วไป กระจกสีซึ่งถูกติดตั้งเข้าไปเพิ่มเติมในปี 1911 ช่วยเพิ่มคงามงดงามให้แก่โบสถ์แห่งนี้อย่างมาก