ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธรูปสมัยมัณฑเลที่เจดีย์เอ็นดอยา

คำสำคัญ : พระพุทธรูป, พุทธเถรวาท, เจดีย์เอ็นดอยา

ชื่อหลักเจดีย์เอ็นดอยา
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
จังหวัด/เมืองมัณฑเลย์
รัฐ/แขวงมัณฑเลย์
ประเทศเมียนมา
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 21.164722
Long : 94.881111

ประวัติการสร้างเจดีย์เอ็นดอยาสร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าปกันมินผู้ครองเมืองอมรปุระเป็นองค์สุดท้ายก่อนที่เมืองหลวงจะย้ายมาที่เมืองมัณฑเล เจดีย์องค์นี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งกลุ่มหนึ่งซึ่งอาจสร้างขึ้นในรัชกาลนี้หรือรัชกาลถัดมา
ลักษณะทางศิลปกรรมพระพุทธรูปประทับนั่งสมัยมัณฑเล มีลักษณะสำคัญคือพระพักตร์มีกระบังหน้า ห่มเฉียงเสมอตามแบบพระนั่งพุกามซึ่งแตกต่างไปจากพระยืนที่นิยมห่มคลุม จีวรเป็นริ้วธรรมชาติทั้งหมดตามอิทธิพลจีน บางครั้งการประดับลวดลายและกระจกลงไปบนจีวรด้วย ที่พระอังสาซ้ายปรากฏชายจีวรตกลงมายาวจนถึงพระนาภี ที่ปลายจีวรมีการเล่นลวดลายอย่างมาก เช่นการสลักผ้าให้ทบไปมาจนดูผิดธรรมชาติ พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัยตามแบบพระนั่งในศิลปะพุกาม
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะมัณฑเลย์
อายุพุทธศตวรรษที่ 24-25
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-07-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี