ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภาพสลักเมืองบาดาลที่ฐานพระราชวังหลวง
คำสำคัญ : พุทธมหายาน, ชัยวรมันที่ 7, นาค, พระราชวังหลวง, สูริยวรมันที่ 1, บาดาล, พระยม
ชื่อหลัก | พระราชวังหลวง |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
จังหวัด/เมือง | เสียมเรียบ |
ประเทศ | กัมพูชา |
ประวัติการสร้าง | พระราชวังหลวงแต่เดิมสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสูริยวรมันที่ 1 แต่ต่อมาในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้มีการสร้างฐานเพิ่มเติมขึ้นมาโดยมีการสลักประติมากรรมต่างๆ เช่น ครุฑ นาค ช้าง เป็นต้น |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | ด้านล่างของฐานปรากฏการทำประติมากรรมสลักหินทราย เทวดา นางอัปสร อสูร นาค และพระยม โดยแบ่งเป็นชั้น ตรงกลางด้านล่างของแนวฐานจะปรากฏนาคหลายเศียรอยู่เสมอ รูปแบบประติมากรรมสตรี จะสวมกระบัง ด้านบนมีศิราภรณ์ประดับด้วยช่อดอกไม้ 3 แถว กุณฑลเป็นพู่ห้อยขนาดใหญ่ พระพักตร์แบบบายน กล่าวคือหลับพระเนตรและยิ้มที่มุมพระโอษฐ์เล็กน้อย |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | บายน |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 18 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | มหายาน |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | เมืองบาดาล เป็น 1 ใน 3 โลก ที่ปรากฏในตำนานพุทธศาสนาและฮินดู นอกเหนือจากสวรรค์ และโลกมนุษย์ บางครั้งอาจจะเรียกว่านรกก็เป็นได้ เป็นที่สถิตของพระยม เทวดาและเหล่าอสูร และนาค |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | ประติมากรรมพญานาคที่ปรากฏ แสดงถึงความเป็นเมืองบาดาลที่อยู่อาศัยของเหล่านาค |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-02-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |