ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

คำสำคัญ : พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน, พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ชื่อเรียกอื่น-
ชื่อหลักพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
ชื่ออื่นค่ายพระรามหก
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลชะอำ
อำเภอชะอำ
จังหวัดเพชรบุรี
ภาคภาคตะวันตก
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศารุ้งแวง
Lat : 12.698245
Long : 99.963157
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 604575.34
N : 1403959.41
ตำแหน่งงานศิลปะเขตพระราชฐาน ริมชายหาดชะอำ

ประวัติการสร้าง

สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6

ประวัติการอนุรักษ์

ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 98 ตอนที่ 177 วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2524

ขนาดมีความยาวทั้งสิ้น 399 เมตร
ลักษณะทางศิลปกรรม

พระราชนิเวศน์มฤคทายวันประกอบด้วยพระที่นั่ง3องค์ที่มีทางเชื่อมต่อกันโดยตลอด ได้แก่ หมู่พระที่นั่งสมุทรพิมาน หมู่พระที่นั่งพิศาลสาคร พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ พระที่นั่งทั้งหมดสร้างด้วยไม้สักทอง ลักษณะเป็นอาคาร2ชั้น เปิดโล่งยกพื้นสูงชั้นล่างทำเป็นคอนกรีต หลังคาเป็นทรงปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องว่าว มีบานเกล็ดระบายความร้อน ช่องหน้าต่าง แนวระเบียงและชายคาประดับด้วยไม้ฉลุลายแบบขนมปังขิง มีเสารองรับพระที่นั่งทั้งหมด1080 ต้น วางในแนวเดียวกัน เสาทุกต้นมีการหล่อขอบคอนกรีตที่ฐานและยกขอบเสาไม้ขึ้นไป มีรางน้ำที่ขอบฐานปูน เพื่อป้องกันมดและสัตว์อื่นๆซึ่งมีชุกชุม

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระราชนิเวศน์มฤคทายวันเป็นพระราชวังที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในฤดูร้อน รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทยประยุกต์โดยผสมผสานกับเรือนขนมปังขิงแบบยุโรป

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 25
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องประเพณีในราชสำนัก

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-06-17
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

กองโบราณคดี กรมศิลปากร.ทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ 2. กรุงเทพฯ: กองโบราณคดี, 2538.

อรรคศิษฏ์ วิริยะกุล. พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน . กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร : กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน, 2537.