ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท

คำสำคัญ : พระที่นั่ง, พระนครคีรี, เขาวัง, พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท

ชื่อเรียกอื่น-
ชื่อหลักพระนครคีรี
ชื่ออื่นเขาวัง
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลท่าราบ
อำเภอเมือง
จังหวัดเพชรบุรี
ภาคภาคตะวันตก
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.108944
Long : 99.936402
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 601504.36
N : 1449371.65
ตำแหน่งงานศิลปะยอดเขาทิศตะวันตก

ประวัติการสร้าง

สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4

ประวัติการอนุรักษ์

ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 78 ตอน 52 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478

พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาทยังมีสภาพค่อนข้างแข็งแรง ส่วนที่ชำรุดเป็นสิ่งตกแต่ง เช่น ยอดปราสาทบางองค์ถูกฟ้าผ่าหักชำรุด ลายประดับหลุดร่วงเสียหายและบางส่วนเคยได้รับการบูรณะ จึงมีการบูรณะตามรูปทรงเดิม
ลักษณะทางศิลปกรรม

มีรูปแบบเป็นปราสาททรงจัตุรมุข ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน ประดับลวดลายปูนปั้นที่บริเวณหน้าบัน บัวหัวเสา และกาบพรหมศร ส่วนยอดเป็นปรางค์มีทั้งหมด 5 ยอด โดยประดับอยู่ที่กลางสันหลังคามุขทั้ง 4 และยอดประธานซึ่งมีความสูงที่สุด ทุกยอดประดับนภศูล ภายในพระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาทมีขนาดไม่กว้างใหญ่มากนัก ใช้เทคนิคการก่ออิฐแนวผนังและเพดานโดยก่อเป็นวงโค้งปลายแหลม ซึ่งช่องวงโค้งค่อนข้างแคบจึงช่วยรองรับน้ำหนักของเครื่องหลังคาที่มีถึง 5 ยอดได้เป็นอย่างดี

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาทเป็นพระมหาปราสาทประจำพระนครคีรี พระที่นั่งองค์นี้เป็นพระมหาปราสาทเพียงแห่งเดียวในรัตนโกสินทร์ที่มียอดปรางค์ 5 ยอด สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงสถาปนาพระนครคีรีเป็นพระราชฐานที่ประทับนอกราชธานี ซึ่งตามโบราณราชประเพณีในการสร้างพระราชวังย่อมต้องมีการสร้างปราสาทไว้ด้วย

ภายในประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 25
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องประเพณีในราชสำนัก

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-05-28
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

ศิลปากร, กรม. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2542.

ศิลปากร, กรม. ทะเบียนโบราณสถาน. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2532.

เบญจวรรณ ทัศนลีลพร. การออกแบบพระนครคีรี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร), 2543.

พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรมกับงานช่างหลวงในสมัยรัชกาลที่ 4. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555.